ข้อเสนอเชิงนโยบายการยกระดับผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3

Chutima Hongboonmee

Abstract


บทคัดย่อ

           บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการยกระดับผลการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาทีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 4) เพื่อตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบายการยกระดับผลการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาทีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 2,416 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 458 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 127 คน ครูผู้สอนจำนวน 331 คน คัดเลือกได้ใช้ตารางเครจรี่และเมอร์แกน (Krejcie,K.V.and Mogan,D.W.,1970) ใช้วิธีแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบการตรวจสอบความถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย การวิเคราะห์ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ที่รุนแรงมากถึงมากที่สุด คือ เนื้อหาสาระในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ค่อนข้างเป็นนามธรรมไม่เป็นรูปธรรมที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและความสนใจของนักเรียน 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ มากที่สุดมี 7 ด้าน ดังนี้ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านครูผู้สอน ด้านนักเรียน ด้านสื่อ ด้านการประเมินผล ด้านบริหารจัดการ ด้านผู้ปกครอง ส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมากที่สุด 3) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น 7 ด้าน และมีขั้นทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ระดับเขตพื้นที่ เช่น จัดอบรมครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมปีที่ 6 เรื่อง วิธีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และการจัดทำแผนการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงกับปัญหาในชุมชนและความสนใจของนักเรียน และจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น ระดับโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนประชุมครูทั้งโรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดีขึ้น และจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ  4) ผลการตรวจสอบของข้อเสนอเชิงนโยบายการยกระดับผลการเรียนวิทยาศาสตร์ ประโยชน์ระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ระดับมาก ความเหมาะสมระดับมากที่สุด 

 

Abstract

          The obectives of this article were 1) to study current condition and problems of teaching science subjects grade of prathom suka 6 Schools in the Phetchabun educational Service Area Office Area 3, 2) to study the causal factors influencing the important of academic achievement in science subjects grade of Prathom Suka 6 Schools in the Phetchabun Educational Service Area Office Area 3, 3) to develop a policy proposal to raise the level of science grade of Prathom Suka 6 Schools in the Phetchabun Educationa Service Area Office Area 3 and 4) to examine policy proposals for enhancing science grade of Prathom Suka 6 Schools in the Phetchabun Educational Service Area Office Area 3. The population were 2,416 persons in the Administration and science teachers in the Phetchabun Educational Service Area 3 A sample were 458 people consisted of 127 school administrators, 331 teachers. The selection used the Crazy and Morgan tables. Research tools were questionnaires, interviews, Validation Form Data analysis and interpretation. Guantitative analysis used computer program to determine statistics percentage, mean () and standard deviation (SD)

          The resulte showed that 1) the current condition and problems of teaching science grade of prathom suka 6 Schools in the Phetchabun educational Service Area Office Area 3. based on the opinions of teachers, were the most extreme : the material in the science curriculum was quite abstract, not concrete linked to real life and student interests, 2) the causal factors the influenced the most successful levels were as follows : Curriculum Teaching, students, media, evaluation, management, parental aspects This has resulted in the achievements of students, 3) Developed 7 policy proposals And have a process for making policy proposals Area level,such as Organizing a training for science teachers prathom suka 6 on Science Teaching Methods and preparation science learning plans Connect to community issues and interest and create a local curriculum interests. And create a local curriculum influenced with the subject of science learning Build partnerships with local universities School administrators have a meeting for teachers throughout the school. And create a local curriculum influenced with the subject of learning science. 4) Examination results of policy proposals for enhancing scientific grades Benefit Highest High Sufficiency High appropriate


Keywords


Policy proposals, Learning Achievement, Science Subject Prathomsuka 6

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.