การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Patcharapong Sriwichai, Sujitra Pandee

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่บ้านไผ่ย้อย จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เอกสารประกอบหลักสูตรส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์

           ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(= 4.20, S.D. = 0.77) และประสิทธิผลหลักสูตรเท่ากับ 0.5725 หรือคิดเป็นร้อยละ 57.25
2) ผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ มีคะแนนพัฒนาการของการคิดแก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ โดยร้อยละพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักเรียนในระดับพัฒนาการสูง มีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของนักเรียนทั้งหมด นักเรียนที่มีระดับพัฒนาการสูงมาก มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 ของนักเรียนทั้งหมด และพัฒนาการสัมพัทธ์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 61.55

 

Abstract

          The purposes of this article were 1) to establish and find the effectiveness of the enhance problem-solving thinking curriculum using design thinking process for grade 5 students, 2) to study the effect of using the enhance problem-solving thinking curriculum using design thinking process for grade 5 students. The sample consisted of 16 students from grade 5 of Phrae Provincial Administrative Organization Ban Phaiyoi School, Semester 2, academic year 2020, with a clustered random sampling method. The research instruments were the enhance problem-solving thinking curriculum using design thinking process for grade 5 students, the curriculum supporting documents to enhance problem-solving thinking using design thinking process for grade 5 students and problem-solving thinking test. The data statistic used percentage, average, standard deviation and relative development percentage.

          The results of the research found that 1) The established curriculum in overall was at the high overall suitability (= 4.20, S.D. = 0.77) and the effectiveness of the curriculum was 0.5725 or 57.25%. 2) The result of using the enhance problem-solving thinking curriculum using design thinking process for grade 5 students found that the students who took the curriculum’s learning activities had higher relative development score of problem-solving thinking compared with before taking the curriculum’s learning activities. The relative development percentage of 14 students were high level, which was 87.50% of total students while 2 students were very high level which was 12.50% of total students. The average of relative development percentage was 61.55%


Keywords


Curriculum Development, Design Thinking, Problem-solving Thinking

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.