ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ในโรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์

Picharaporn Meepin, Sumitra Rojananiti

Abstract


บทคัดย่อ

            บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ในโรงเรียนประถมศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) สภาพความพร้อมของโรงเรียนและเจตคติของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อเด็กพิการเรียนร่วมในโรงเรียนประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และ 4) เพื่อนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ แบบสำรวจแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง แบบวัดเจตคติ แบบสนทนากลุ่ม การสังเคราะห์เอกสารและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบไค-สแควร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์สามเส้า ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน 132 โรงเรียน จำนวนรวม 994 คน

ผลการวิจัยพบว่า

            1. สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ในโรงเรียนประถมศึกษา กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก

            2. ปัญหาและสภาพความพร้อมของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านเครื่องมือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อมและด้านนักเรียน เจตคติของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อเด็กพิการเรียนร่วมอยู่ในระดับมาก

            3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท ไปสู่การปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านนักเรียน 2 ข้อ ด้านสภาพแวดล้อม 3 ข้อ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ข้อ และด้านเครื่องมือ 4 ข้อ

            4. ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในโรงเรียนประถมศึกษากรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ นำเสนอเป็น 3 ระดับ คือระดับโรงเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบายในมิติความถูกต้องความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

 

 

Abstract

             The objectives of this article were 1) to study the implementing
of inclusive education in elementary schools: a case study in Uttaradit Province, 2)to study the problems in implementing, readiness of inclusive education on SEAT Framework and attitudes of those involved to students with disabilities,
3) to study factors affecting the implementation of the Inclusive Education Management Policy based on the SEAT Framework, 4) to introduce the policy proposal for inclusive education in elementary schools: a case study in Uttaradit Province. The mixed-method of quantitative and qualitative research was applied. The tools composed of operational surveys, problem and readiness questionnaires, structured interviews, attitude scale, focus group discussion, document synthesis, and connoisseurship. The data for the quantitative method were analyzed by mean, percentage, standard deviation analysis of variance and chi-square test. The content analysis and triangulation were used for qualitative analysis.The population were administrators, teachers, parents and students in elementary schools in Uttaradit Province. The sample selected by purposive sampling was 994 people from 132 school units.

The results of research were as follows :

             1. The implementing of inclusive education in elementary school were at a high level.

             2. Problems and readiness of inclusive education on SEAT Framework were tools, activities, environment and students respectively. Attitudes of those involved in the case study was at a high level.

             3. Factors affecting the implementation of the Inclusive Education Management Policy based on the SEAT Framework consisted of 2 student factors, 3 environmental factors, 4 too factors and 4 activities factors.

              4. The suggested policies after synthesizing devided into 3 levels for schools, for the Primary Education District Offices and for the Office of the Basic Education Commission. In additions, the policy proposal validation was accurate in all dimensions ; the benefits, the possibilities and the suitabilities.


Keywords


Proposed Policy, Inclusive Education, SEAT Framework

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.