การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน

Janjira Chaipamornrit, Ketsaraphan Punsrigate Khongjaroen, Lumyai Seehamat, Wilaiporn Rittikoop, Adirek Nuansri

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีน ตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ความรู้ความเข้าใจการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอน 2) ทักษะการออกแบบการสอนและการจัดการเรียน  การสอน และ 3) เจตคติต่อวิชาชีพครู การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีน ตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน เป็นขั้นตอน ตั้งแต่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ไปจนถึงขึ้นที่ 2 ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน ที่เรียนในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะครุศาสตร์ ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ จำนวน 4 แห่ง จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง จากการจับฉลากนักศึกษาเอกภาษาจีน ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น 30 คน และ กลุ่มควบคุม จากการจับฉลากนักศึกษาเอกภาษาจีน ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ที่ได้รับการสอนแบบปกติ จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีน ตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูวิชาเอกการสอนภาษาจีน พบว่า

          1. กลุ่มทดลองที่เป็นนักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอนโดยรวม สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

          2. กลุ่มทดลองที่เป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะ    การออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอนโดยรวม ในวิชาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และในทุกวิชาเอก สูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

          3. กลุ่มทดลองที่เป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อวิชาชีพครู โดยรวม สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

 

 

Abstract

          This article aimed to evaluate teaching model for enhancing Chinese language teaching performance of students studying in Chinese Language Teaching program though cognitive apprenticeship. It was consisted of knowledge and understanding of teaching design and teaching management, needed skills in terms of teaching design and teaching management, and attitude towards teaching profession. The trying out of the instructional model based on cognitive apprenticeship was divided into 2 steps: model preparation and model trying out. The population was students studying in Chinese Language Teaching program, faculty of Education of Rajabhat University in the Northern region. The experimental group, selected by drawing, consisted of 30 fourth-year students of Chinese Language Teaching program. The control group, selected by drawing and received no treatment, consisted of 30 fourth-year students of Chinese Language Teaching program.

          The results of model evaluation revealed as follows.

          1. The score in terms of teaching design and teaching management of the experimental group was higher than that of the control group at .05 significant level.

          2. The score in terms of skills relating to teaching design and teaching management of students in Mathematics, Sciences, Social Studies, Thai, and English programs, who were in the experimental group, was higher than that of the control group at .05 significant level.

          3. The attitude towards teaching profession of the experimental group was higher than that of the control group at .05 significant level. 


Keywords


Evaluation , Instructional model , Enhancement of Teaching performance, Cognitive apprenticeship, Students of Teaching Chinese Language program

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.