ถอดบทเรียนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

Miruntee Phojanasuparn, Supachai Yavaprabhas

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 2) ศึกษาบทเรียนสำคัญของกระบวนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้รับผิดชอบในการจัดทำธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ทั้ง 2 ฉบับ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน พบว่า

          1) การจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติทั้งสองฉบับ มีกลไกและกระบวนการที่สอดคล้องกับแนวคิดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ที่ตั้งอยู่บนหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในลักษณะหน่วยงาน องค์กร หรือภาคีเครือข่ายเป็นการทำงานสอดรับกัน และมอบหมายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคส่วนดำเนินการ โดยยังไม่มอบการบริการสาธารณะเพื่อให้ประชาชนดูแลจัดการหรือเป็นผู้กำหนดเอง ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของกลไก และกระบวนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ รวมไปถึงการวางแนวการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้น จะมีหลักคิดแนวทางกำหนดไว้โดยพบว่าคณะกรรมการรวมไปถึงคณะผู้จัดทำ เป็นไปตามแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาที่ได้วางหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน โดยยึดแนวทางการมีส่วนร่วมตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของ Cohen and Uphoff (1980) ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินนโยบาย รวมถึงการศึกษากลไกและกระบวนการอยู่ภายใต้แนวคิดธรรมนูญนิยม แนวคิดการครองความเป็นเจ้าอุดมการณ์ แนวคิดสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม และแนวคิดเกมภาษาและการสื่อสาร

          2) การนำแนวคิด วิธีการ และหลักการที่เป็นระบบภายใต้การสกัดความรู้ ความเห็นจากประสบการณ์ หรือการทำงานที่มีอยู่ในบุคคล ภูมิปัญญาของท้องถิ่น องค์ความรู้ของหน่วยงาน องค์กรหรือกลุ่มโดยสกัดออกมาเป็นบทเรียนที่สามารถนําไปสรุป และสังเคราะห์เป็นชุดความรู้ คู่มือหรือสื่อรูปแบบต่าง ๆ จนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอันนํามาซึ่งการปรับวิธีคิดของผู้เข้าร่วมกระบวนการอีกทั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการทํางานที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพยิ่งขึ้น ทำให้ค้นพบบทเรียนจากกระบวนการจัดทำที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในประเด็นสุขภาพ และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ การมีนโยบายที่ชัดเจน มีหน่วยงานที่เป็นอิสระ มีศักยภาพ มีผู้นำที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อการทำงานและการ มีส่วนร่วมกับภาคพลเมือง ซึ่งทั้งองค์กรและผู้นำสามารถเชื่อมโยงเกี่ยวประสานและได้รับการสนับสนุนการทำงานระหว่างเครือข่ายได้เป็นอย่างดี โดยให้ความสำคัญกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเน้นให้มีแนวคิด ทัศนคติ และเจตคติที่ดีในการทำงานให้แรงเสริมแก่ผู้ปฏิบัติ และการให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบและประเมินผล 

 

 

Abstract

          The aims of this article were 1) to examine the participation mechanisms and process in designing the First National Health System Charter B.E. 2559 and 2) to decode the key lessons in the designing process of the National Health System Charter. This qualitative study deployed document analysis of related documents and in-depth interviews with people in charge of designing 2 versions of the National Health System from key informants of 12 people. The findings revealed that :

          1) The design of 2 versions of the National Health System Charter showed the mechanisms and processes consistent to the New Public Governance (NPG) that underpinned the participation of all stakeholders. The participation involved unit, organization, networks which illustrated the reciprocal connectivity, and assignment of tasks charged by the related units without handing over the public services to be handled by people or letting people make decisions. The participation mechanisms honored idealism and hearing people's opinion in believing that people are best in understanding their own problems, so the problem management is managed by people. Each stage of the mechanism and the process of designing the National Health System Charter as well as the policy implementation demonstrated clear principles and guidelines. It was found that the committee members and the designing team incorporated the concept of “triangle that moves the mountain” which employed participation from all stakeholders. The working process adhered to a participatory approach proposed by Cohen and Uphoff (1980) which emphasizes participation in all stages of policy implementation. This process also included studying mechanisms and processes underpinning constitutionalism, ideological domination, post-structuralism, language-game and communication.

          2) Concepts, methods and systematic principles, individual knowledge and experience-based opinion, local wisdom, institutional or organization or group knowledge were summarized and synthesized to formulate a set of knowledge, handbook, and variety of media. This led to collaborative learning for an adjustment of mindset of participants and changing their working style for creativity and efficiency. This process evolved the lessons derived from the charter designing process that illustrated the changes in health issues and were accepted by all stakeholders. The charter consisted have Clear policy and guidelines derived from involvement of all stakeholders (Policy Statements), Authorized people and involved people offer full support for the National Health Commission. The host organization is ready in regard to budget, staff, and management flexibility. Operation officers showed positive and clear mindset, motivation, and attitudes towards their jobs. The leader is well accepted by involved people and is able to coordinate individuals and organizations at different levels of operation. Policy assessment and evaluation systems promoted efficiency and enhancement of the working committees.


Keywords


National Health System Charter, Health System

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.