การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านภาษาไทยของเด็กปฐมวัย

Aungsumalin Tidtragulchai, Anongnat Yimchang, Suchanad Chaiwanna

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะความสามารถทางด้านภาษาและสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสามารถทางด้านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อทดลองใช้สื่อการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสามารถทางด้านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนอนุบาลโกรกพระ (ประชาชนูทิศ) อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย สื่อการเรียนรู้ภาษาไทย แบบประเมินทักษะด้านภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

          ผลการวิจัย พบว่า 1) การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย สื่อภาษาไทย ผู้วิจัยสังเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล 2) การสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 6 ชุด และแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 6 หน่วย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ส่วนแบบประเมินทักษะด้านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 1.00 3) ผลการทดลองใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะ  ด้านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าคะแนนอยู่ในระดับดี มีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยมีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ

 

 

Abstract

          The objectives of this article were 1) to study language skills and learning materials for early childhood children, 2) to design learning materials that build Thai language proficiency for early childhood children and 3) to try Learning materials that build Thai language proficiency for early childhood children. Target groups used in this research was a preschool child, male and female aged 5-6 who are studying in Kindergarten Level 2 of Krok Phra Kindergarten (Prachachanuthit), Krok Phra District, Nakhon Sawan Province, 25 people. The tools used in the research consisted of An experience plan for early childhood Thai language learning materials Thai language skills assessment form The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation. Qualitative data analysis used content analysis.

          The research findings were as follows: 1) Design of learning materials to enhance Thai language skills for early childhood, Thai language media, researcher, synthesis. Analysis of design, development, implementation and evaluation 2) Creation of 6 sets of learning materials to enhance Thai language skills for preschool children and 6 units of experience planning for early childhood children. The quality was very good. The assessment of Thai language skills for early childhood The consistency index was 1.00. 3) The results of the experiment using learning materials to enhance Thai language skills for early childhood children. was a good level of score value Correspondence between questions and objectives (IOC), that passed all criteria with an IOC value of 1.00.       


Keywords


earning material design early childhood Thai language skills

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.