การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบนิทานภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่ารวก (คุรุราษฎร์สงเคราะห์) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

Chonthicha Palaarcheep

Abstract


บทคัดย่อ

      บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบนิทานภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการเขียนภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบ   นิทานภาพ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบนิทานภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่ารวก (คุรุราษฎร์สงเคราะห์) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบนิทานภาพ จำนวน 5 แผน  เวลาเรียน 15 ชั่วโมง นิทานภาพ จำนวน 5 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการเขียนภาษาไทย เป็นแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบนิทานภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่ารวก (คุรุราษฎร์สงเคราะห์) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.00/82.92     สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
  2. นักเรียนมีคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการเขียนภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยนักเรียนมีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 18.50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.25 และนักเรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 33.17 คะแนน มีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.92
  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่ารวก (คุรุราษฎร์สงเคราะห์)        มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบนิทานภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m = 2.68, s = 0.45)

 

 

Abstract

         The objectives of this article were 1) to construct and examine the efficiency of picture book learning management plan for Prathomsuksa 2 students, 2) to compare pre- and posttest learning achievements of students after implementing the picture book learning management plans and 3) to assess the students’ satisfaction towards the implementation of picture book learning management plans. The population were 6 Prathomsuksa 2 students at Ban Paruak School (Khururatsongkhro) in their semester 1/2020. The research instruments were 5 picture book learning management plans covering 15 hours and 5 topics; 2-item subjective test assessing Thai language writing skills achievement; 10-item 3 points rating scale questionnaire assessing students’ satisfaction towards the implementation of picture book learning management plans. The results showed that :

  1. The picture book learning management plans for Prathomsuksa 2 at Ban Pa Ruak School (Khururatsongkhro) showed the efficiency scores (E1/E2) at 80.50/81.00 which were higher than the 80/80 standard.
  2. The students’ posttest on Thai language writing skills were higher than the pretest while the pretest mean score was 18.50 (46.25%) and the posttest mean score was 33.17 that revealed the progress at 82.92%.
  3. The students’ satisfaction towards the implementation of picture booking learning management plans for Prathomsuksa 2 student was reported at the high level (m = 2.68, s = 0.45).

Keywords


Thai Writing Skills, Picture Book, Learning Management Plan

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.