ผลการใช้กิจกรรรมแนะแนวตามกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองและทักษะการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการทดลองตามแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest Design design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนหน่วยการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามกลวิธีเมตาคอกนิชัน 2) แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเอง 3) แบบวัดทักษะการตัดสินใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)
ผลการวิจัยที่พบว่า
1) การรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามกลวิธีเมตาคอกนิชันสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
2) ทักษะการตัดสินใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามกลวิธีเมตาคอกนิชันสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this article were 1) to compare self-efficacy for eleventh grade students of Srisawatwittayakran school, 2) to compare decision-making skill for eleventh grade students. One Group Pretest - Posttest Design design was applied in this study. The sample of this research consisted of 30 students of grade 11/7 studying in the second semester year 2020 in Srisawatwittayakran school, Nan. The instruments used for collecting data consisted of 1) lesson plan by using guidance activities applied with metacognition strategies, 2) self - efficacy assessment and 3) the decision - making skill test. The statistics used the data analysis were mean (M), standard deviation (SD) and t - test dependent. The results of the study were as follows:
1) The self - efficacy of eleventh grade students after learning guidance activities metacognition strategies was higher than before learning at the significance level of .05
2) The decision making skill of eleventh grade students after learning guidance activities metacognition strategies was higher than before learning at the significance level of .05
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.