ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาตัวแปรที่เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ใน 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านสถานศึกษา ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย คุณภาพการสอน การประเมินผล และบรรยากาศในชั้นเรียน 2) องค์ประกอบด้านผู้เรียน ประกอบด้วย ความรู้ในวิชาชีพครู เจตคติต่อวิชาชีพครู ความตั้งใจเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวและความสัมพันธ์กลุ่มเพื่อน 2. เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบด้านสถานศึกษาและองค์ประกอบด้านผู้เรียน และ 3. เพื่อประเมินองค์ประกอบด้านสถานศึกษาและองค์ประกอบด้านผู้เรียน
ประชากรเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 488 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดตัวอย่าง 220 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านสถานศึกษาและด้านผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการศึกษาและด้านผู้เรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ปัจจัยด้านการศึกษาและด้านผู้เรียนที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ คุณภาพการสอน (X2) กับการประเมินผล (X3) โดยมีความสัมพันธ์เท่ากับ .781 และพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุด ได้แก่ คุณภาพการสอน (X2) รองลงมาคือ การประเมินผล (X3) บรรยากาศในชั้นเรียน (X4) และเจตคติต่อวิชาชีพครู (X6) ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบองค์ประกอบด้านสถานศึกษาและองค์ประกอบด้านผู้เรียนโดยรวม ตามความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ พบว่า องค์ประกอบด้านสถานศึกษาและด้านผู้เรียนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ไม่แตกต่างกัน
3. องค์ประกอบด้านสถานศึกษาและองค์ประกอบด้านผู้เรียนโดยรวม พบว่านักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ มีระดับผลการประเมินสูงกว่า3.00 (เกณฑ์ที่กำหนด) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งสององค์ประกอบ
Abstract
The objectives of this article were 1) to study the causal factors influencing Industrial Education and Technology Students Achievement from Bachelor of Science in Technical Education, Program in Industrial, Rajamangala University of Technology Lanna chiangmai. There are two elements in this research; (1) Educational institution that be formed of university environment, teaching quality, evaluation and assessment, and classroom environment
(2) students; the knowledge of teacher profession, the attitude of teacher profession, learning attention, motivation for achievement, parental relationship, and friendship, 2) to compare the composition between educational institution and students. and 3) to evaluate the composition between educational institution and students.
The samples were student who were the first semester in academic year 2019 of Bachelor of science in Technical Education, Program in Industrial, Rajamangala University of Technology Lanna Chiangmai by used Taro Yamane and stratified random sampling methods, 220 student samplings from total 488 students. The instrument used was a five-rating scale questionnaire. Statistics utilized for data analysis were arithmetic mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, One way Analysis of Variance and T-test.
The research findings were as follows :
1. The coefficient of correlation among independent variable had the highest value; teaching quality (X2), and evaluation and assessment (X3) had correlated at .781. The variable that had the correlation of dependent variables were organized; teaching quality (X2), evaluation and assessment (X3), classroom environment (X4) and attitude of teacher profession (X6)
2. The comparison of educational institution were students are focused on opinion of Industrial Education and Technology students, Faculty of Engineer, Bachelor's Degree, Rajamangala University of Technology Lanna found that the composition of educational institution and students were not statistical significant.
3. The composition of educational institution and students were generally followed by the evaluation and assessment of Industrial Education and Technology students, Faculty of Engineer, Bachelor's Degree, Rajamangala University of Technology Lanna which found that the results were higher criterion statistical significant of both composition.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.