กระบวนการฟื้นฟูป่าเมืองน่านเชิงพุทธบูรณาการ

Chet Nimmatapat

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการฟื้นฟูป่าเมืองน่านเชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐและเอกชน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 30 รูป/คน พื้นที่ในการศึกษาคือ อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม และอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

          ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน คือ การสนับสนุนชุมชนในการดำเนินกิจกรรมการจัดการดูแลรักษาป่า ตามความหลากหลายของแต่ละชุมชนที่มีการจัดการป่าที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) กระบวนการจัดสรรพื้นที่ป่าโดยชุมชนจัดการตนเอง 2) กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมผ่านพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา 3) กระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดการดูแลป่ามีการใช้ความเชื่อ พิธีกรรม จารีตประเพณีและวิถีปฏิบัติ     

          ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นฟูป่าในจังหวัดน่าน คือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น 2) ทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ 3) ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป กระบวนการฟื้นฟูป่าเมืองน่านเชิงพุทธบูรณาการ ในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย (1) ด้านศาสนธรรม (2) ด้านศาสนบุคคล และ (3) ด้านศาสนพิธี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) ความเชื่อเรื่องผีและขึดเป็นข้อห้ามหรือข้อกำหนด (2) ความรู้ใหม่ที่ได้จากหลักการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (3) การใช้พิธีกรรมเพื่อเป็นมาตรการควบคุมชุมชนในการจัดการเกี่ยวกับป่า และ   (4) จารีตประเพณีหรือวิถีปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3 ด้าน (1) การใช้อย่างชาญฉลาด (2) การฟื้นฟูสิ่งที่เสื่อมโทรม (3) การเก็บกักและแบ่งปัน

 

Abstract

          The objectives of this article were 1) to study the process of forest regeneration in Nan, 2) to analyze factors affecting the forest regeneration process in Nan and 3) to present the process of forest regeneration in Nan based on Buddhist integration. This research was a qualitative research. The target groups for the research were monks, community leaders, government and private officials. Executives and staff of local administrative organizations, amounting to 30 figures/person. The study area was Mueang Nan District, Phu Pieng District, Santisuk District, Mae Charim District and Bo Kluea District, Nan Province

          The results showed that the process of forest restoration in Nan was to support the community in implementing forest conservation management activities. According to the diversity of each community with different forest management as follows : 1) the process of forest allocation by the community self-management, 2) the process of creating participation through Buddhist rituals; and 3) the process of using local wisdom in forest management, using beliefs, rituals, customs, and practices.

          Factors affecting the forest restoration process in Nan Province were :
1) inexhaustible natural resources, 2) renewable natural resources, 3) expiring resources. The Process of Forests Rehabilitation in Nan Province based on Buddhist Integration, it consisted of (1) Religious aspects: (2) Religious person and (3) the rituals were the application of Buddhist beliefs in forest maintenance. And local wisdom, consisting of (1) belief in ghosts and as a prohibition or requirement; (2) new knowledge derived from modern scientific principles; (3) the use of rituals and (4) Traditions or practices were part of local wisdom for natural resource management in three areas : (1) Smart use (2) Degradation restoration (3) Containment and sharing.


Keywords


Forests Rehabilitation, Buddhist Integration

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.