การพัฒนาป้ายสัญลักษณ์บอกทางอัจฉริยะโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อทุกคน เพื่อเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Tula Kumkrong, Fisik Sean Buakanok

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการติดต่อสื่อสารและความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการ เพื่อสร้างและหาคุณภาพป้ายสัญลักษณ์บอกทางอัจฉริยะโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อทุกคน เพื่อเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองของนักศึกษาพิการและศึกษาผลการใช้ป้ายสัญลักษณ์บอกทางอัจฉริยะโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อทุกคน เพื่อเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองของนักศึกษาพิการกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและการได้ยิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำแนกตามขั้นตอนประกอบด้วย แบบสอบถามเบื้องต้นและแบบสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ป้ายสัญลักษณ์บอกทางอัจฉริยะเพื่อวัดความสามารถการพึ่งพาตนเองและการประเมินความพึงพอใจการใช้ป้ายสัญลักษณ์บอกทางอัจฉริยะ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า1) นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีปัญหาด้านการสื่อสารมากกว่านักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น คิดเป็นร้อยละ 85 และ 80 ตามลำดับ และนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีปัญหาด้านการเดินทางมากกว่านักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน คิดเป็นร้อยละ 95 และ 75 ตามลำดับ 2) การสร้างและหาคุณภาพของสื่อป้ายสัญลักษณ์บอกทางอัจฉริยะ โดยภาพรวม  มีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44 และ 3) นักศึกษาผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นและการได้ยินมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองหลังการใช้ป้ายดีขึ้นมาก มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.57 และ 4.55 ตามลำดับ

 

Abstract

           The objectives of this research were to study communication problems and necessities of students with special needs, create and deliver quality smart directional signs by using universal design to strengthen self-reliance for students with special needs and to study the usage result of smart directional signs by using universal design to strengthen self-reliance for students with special needs. The sample consisted of 6 students with visual and hearing impairments from the Faculty of Education, LampangRajabhat University. The research instruments were categorized according to the following steps data were collected with a preliminary questionnaire and an in depth interview and data of smart directional signs to measure self-reliance capacity and to assess the satisfaction were analyzed using mean and standard deviation statistics.

          The findings revealed that 1) Students with hearing impairment had more communication problems than students with visual impairment at 85 percent and 80 percent, respectively. The students with visual impairment had more travel problems than students with hearing impairment at 95 percent and 75 percent, respectively. 2) The overall creation and quality of smart directional signs were the most appropriate and consistent with a total mean of 4.74 and a standard deviation of 0.44 And 3) Students with visual and hearing impairments had significantly improved self-reliance skills after using smart directional signs with a total mean of 4.57 and 4.55, respectively.


Keywords


mart Signposts, Universal design, self-reliance, special needs, LampangRajabhat University

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.