การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบทดลอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบทดลอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบทดลอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอรุโณทัย ลำปาง จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (ทักษะการทดลอง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบทดลอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และหน่วยที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารในภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก, คู่มือหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลของการเรียนตามหลักสูตร เท่ากับ 0.7513 2) นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบทดลอง หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The objectives of this research were: 1) to establish and determine the effectiveness index of the curriculum of using the Scientific Process Skills; by using experimental research for students in grade 5. 2) to study the effects of using the curriculum for promoting Scientific Process Skills. The research was conducted by using the One-Group Pretest-Posttest Design. The sample group included 20 students from Grade 5/2, second semester in the academic year 2021 of Arunothai School, Lampang province. The research tools were the syllabus, course manual, and the scientific process skills assessment form (Experimental skills). Data were analyzed by using statistics, percentages, mean, standard deviation, and t-test.
The research found that: 1) The using an experimental teaching method for Grade 5 students by using of Scientific Process Skills consisted of 7 elements: 1) Problem statement 2) The principles of the curriculum 3) Aims of curriculum 4) The content structures of the curriculum consisted of 2 units Physical change and Chemical change. 5) Activity 6) Materials Resources and Learning sources and 7) Measurement and evaluation the overall curriculum was at a good level. The curriculum manual was at an excellent level. The effectiveness of the curriculum was 0.7513 2) The average scientific process skill scores of students who attend the class had significantly levels higher than before at the .05
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.