การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้เกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสะลักวิทยา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้เกม 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะโดยใช้เกม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสะลักวิทยา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้ เกม กลุ่มตัวอย่างศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำ แบบฝึกทักษะโดยใช้เกม จำนวน 4 แผน รวม 16 ชั่วโมง 2. แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 4 ชุด 3. แบบสอบถามความความพึงพอใจเกี่ยวกับการการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะโดยใช้เกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสะลัก และ 4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน - หลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Sample) และ t-test (Independent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้เกมชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสะลักวิทยา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) = 84.35/82.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสะลักวิทยา โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้เกม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยนักเรียนมีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 29.2 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 48.67 และนักเรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 50.0 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.88 มีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 34.21
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสะลักวิทยา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้เกมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m= 4.03, s = 0.73)
Abstract
The objectives of this study were: 1) to construct and examine the efficiency of picture book learning management plan for Prathomsuksa 2 students; 2) to compare pre- and posttest learning achievements of students after implementing the picture book learning management plans; and 3) to assess the students’ satisfaction towards the implementation of picture book learning management plans. The population were 6 Prathomsuksa 2 students at Ban Paruak School (Khururatsongkhro) in their semester 1/2020. The research instruments were 5 picture book learning management plans covering 15 hours and 5 topics; 2-item subjective test assessing Thai language writing skills achievement; 10-item 3 points rating scale questionnaire assessing students’ satisfaction towards the implementation of picture book learning management plans. The results showed that:
- The picture book learning management plans for Prathomsuksa 2 at Ban Pa Ruak School (Khururatsongkhro) showed the efficiency scores (E1/E2) at 80.50/81.00 which were higher than the 80/80 standard.
- The students’ posttest on Thai language writing skills were higher than the pretest while the pretest mean score was 18.50 (46.25%) and the posttest mean score was 33.17 that revealed the progress at 82.92%.
- The students’ satisfaction towards the implementation of picture booking learning management plans for Prathomsuksa 2 student was reported at the high level (m = 2.68, s = 0.45).
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.