กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่

sayan innunjai, PhraThongchai Vachirayano (Pichai), Phra Worawut Worawutdhimedhi (Luehong)

Abstract


บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการสื่อสารพุทธธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 314 รูป ได้แก่ พระสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 รูป

            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสวนบุคคลของพระสงฆ์จําแนกตาม อายุ พรรษา สถานภาพ และการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 51 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 22.3  ส่วนใหญ่ มีพรรษาระหว่าง 1 ถึง 5 พรรษา คิดเป็นร้อยละ 24.2  ส่วนใหญ่ มีสถานภาพพระภิกษุ คิดเป็นร้อยละ 65.3 ส่วนใหญ่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 51.0 ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก คิดเป็นร้อยละ 89.8 ส่วนใหญ่ ไม่มีวุฒิการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการสื่อสารพุทธธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง

            สรุปผลการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน พบว่าจุดแข็งหลักการและกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมมีการใช้วาจาไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ และวาจาสุภาษิต ส่วนจุดอ่อน ถ้าสื่อสารผิดพลาดหรือการกล่าวหลักธรรมคลาดเคลื่อนก็จะเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ได้

ABSTRACT

             The objectives of this article were study the principles of Buddhist Dharma communication according to Buddhism To study the Buddhist Dharma communication model through social media of monks in Phrae Province To study and analyze strengths and weaknesses of Buddhist monks' communication process through social media in Phrae province. using integrated research methodology There is quantitative research. collecting data by handing out questionnaires There were 314 samples, including monks living in Phrae Province. and qualitative research. Data were collected by in-depth interviews of 8 images.

              The results showed that the personal factors of monks classified by age, Buddhist Lent, status and education found that most were aged 51 years or over, accounting for 22.3%, most were between 1 and 5 years old, accounting for 24.2%, most had monk status accounted for 65.3 percent, most graduated with a bachelor's degree accounted for 51.0%, most of them graduated with a Dharma major. accounted for 89.8%, most of them did not have a teaching qualification in the Pali department. There are opinions on the principles of Buddhist communication according to Buddhism as a whole. at a high level and the process of communicating Buddhism through social media of monks in Phrae Province, overall, at a moderate level.

               Summary of Strengths and Weaknesses Analysis It was found that the strengths, principles and processes of Buddhist Dharma communication were verbal and not lying. Do not slander, do not speak harshly, do not gossip. and proverbs. As for the weak point, if it is miscommunicated or misrepresenting the doctrine, it can lead to criticism.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.