ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Nantharika Waithayanon, Parinya Thongsorn, Somsiri Singlop

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

          The purposes of this research were 1) To compare the analytical thinking ability of students before and after using the Problem based learning model together with the STAD cooperative learning technique. And 2) To compare the learning achievement in science subjects after using the Problem Based learning model together with the STAD cooperative learning technique, 65 percent higher than the threshold. The design of this research is quasi-experimental research. One-group pretest-posttest Design. The sample in this research is a Grade 7 students at a school in Chonburi Province. Academic year 2021, 37 students were obtained by cluster random sampling. The research instruments were lesson plan using Problem Based learning model and STAD cooperative learning technique, analytical thinking test, and Science Learning Achievement Test. The data was analyzed by using Mean, Standard Deviation, dependent sample t-test and one sample t-test.

       The results were summarized as follows:

       1. The posttest scores of analytical thinking of grade 7 students after learning with the Problem Based learning model and STAD cooperative learning technique were statistically significantly higher than the pretest scores at the .05 level.

      2. The posttest scores of Science Learning Achievement of grade 7 students after learning with the Problem Based learning model and STAD cooperative learning technique were statistically significantly higher than the 65 percent criteria at the .05 level.


Keywords


Analytical Thinking, Problem Based learning, STAD Cooperative Learning Technique

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.