การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 365 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.06, S.D.=0.82) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง (r=.788**) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน 3) ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ให้ความสำคัญกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่มีความกระตือรือร้นในการร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเมืองได้อย่างทั่วถึง ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรเน้นให้ประชาชนทุกช่วงวัยได้มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งก่อนการเลือกตั้ง ระหว่างการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย ควรจัดให้มีสถานที่ในการเสวนา สนทนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเมือง เจ้าหน้าที่การเมืองควรตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ควรเน้นการประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับประชาชนให้ครอบคลุมและทั่วถึง
Abstract
This research article aims to 1) study the level of political participation of citizens in the election of local executives of Huai Or Sub-District Municipality, Long District, Phrae Province. 2) study the relationship between Aparihaniyadhamma principles and the political participation of the people in the election of local executives of Huai Or Sub-District Municipality, Long District, Phrae Province and 3) study the problems, obstacles, and suggestions of people's political participation in the election of local executives of Huai Or Sub-District Municipality. Long District, Phrae Province , conducted by the mixed research methods. The quantitative research obtaining a sample of 365 people, qualitative research 9 key informants or people. Findings were as follows: 1. The level of political participation of citizens in the election of local executives of Huai Or Sub-District Municipality. Long District, Phrae Province by overall was at moderate level (=3.06, S.D.=0.82). 2. The relationship between the Apparihaniyadhamma principles and the political participation of the people in the election of local executives of Huai Or Sub-District Municipality. Long District, Phrae Province, as a whole, had a relatively high level of positive Correlation. (r=.788**) with statistically significant level at 0.01, thus accepting the hypothesis. 3. Problems and obstacles found that the public did not realize the importance of political participation. It did not give priority to voting rights. There was no enthusiasm for engaging in dialogue, exchange, learning and participating in political activities, as well as having no access to political technology thoroughly. Suggestions: People of all ages should be encouraged to participate in politics both before, during and after elections. Build understanding of democratically correct rights, freedoms, and political participation. It should provide a place to discuss and exchange ideas about politics. Political officials should be aware of their roles and duties. Emphasis should be placed on public relations and increase channels of communication with the public to be comprehensive and thorough.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.