การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
Abstract
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ประชาชนในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 คน จากจำนวนทั้งหมด 47,777 คน และ เชิงคุณภาพ ได้แก่ นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชุมชน จำนวน 5 คน เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า :
1. ระดับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.21, σ = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านความมีเหตุผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.24, σ = 0.65) รองลงมาคือ ด้านความพอประมาณมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.21, σ = 0.62) และด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.21, σ = 0.64) และด้านเงื่อนใขความรู้มีค่าเฉลี่ย (μ= 4.21, σ = 0.62) และด้านเงื่อนไขคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (μ = 4.17, σ = 0.63) ตามลำดับ
2. ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง คือ 1. ด้านความพอประมาณ ไม่ควรสร้างภาระหนี้สินเกินตัว 2. ด้านความมีเหตุผล ควรใช้สติปัญญาและเหตุผลไตร่ตรองหาสาเหตุและแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ด้วยความสามารถ 3. ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ควรออมเงินเพื่อเป็นทุนสำรองยามฉุกเฉินและเป็นหลักประกัน เมื่อเราเจ็บป่วย 4. ด้านเงื่อนไขความรู้ หาเหตุผลและจุดที่ผิดพลาดและแก้ไขด้วยสติปัญญาอย่างรอบคอบ 5. ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ควรมีความซื่อสัตย์สุจริตในการดำเนินชีวิตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) To study the application of sufficiency economy philosophy to improve the quality of life of the people in Pabon District. Phatthalung Province, and 2) To study ways to promote the application of the Sufficiency Economy Philosophy to improve the quality of life of the people in Pabon District. Phatthalung Province. The sample used Including people in Pabon District Phatthalung Province By using the random sampling method from Taro Yamane's formula, there were 396 samples from a total of 47,777 people and the qualitative ones were 5 political science academics, experts and community philosophers. It is an integrated research study. Data were collected using questionnaires and interviews. Statistics used in data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation. and analyzed the quality data by descriptive methods.The study results revealed that:
1. The application of the sufficiency economy philosophy to the quality of life development of the people in Pabon District. Phatthalung Province Overall, it was at a high level. (µ = 4.21, σ = 0.63). When considering each side by ordering the average from the most to the least, it was found that rationality have the highest average. (µ = 4.24, σ = 0.65) followed by the aspect of moderation with the highest mean. (µ = 4.21, σ = 0.62), and the terms of knowledge were average. (μ = 4.21, σ = 0.62) and the moral conditions had the lowest averages. (μ = 4.17, σ = 0.63) respectively 2. Recommendations for promoting the application of the Sufficiency Economy Philosophy to improve the quality of life of the people in Pa Bon District Phatthalung Province is 1. Modesty You shouldn't overload your debt. Should group together to do organic farming Products that are safe for consumers and environment, low cost. 2. Reasonableness Wisdom and reason should be used to reflect on the cause and solve various problems with ability. 3. The aspect of having good immunity. You should save money as an emergency fund and as collateral. in the future when we are sick or required 4. terms of knowledge Find reasons and mistakes and fix them with wisdom, wisdom and prudence. 5. Moral conditions. They should be honest in their lives, both to themselves and to others.Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.