การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

เรืองยศ สารพุฒิเศรษฐ์, รวิภัทร ประภานัน

Abstract


บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ได้ดังนี้ 1) ศีล เป็นการประพฤติที่ดีทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทำให้เป็นผู้มีหลักประกันทั้ง 5 นั่นคือ หลักประกันชีวิต หลักประกันทรัพย์สิน หลักประกันครอบครัว หลักประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ เปรียบได้กับทุนทางสังคม คือการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียน มีเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ดังนั้น ศีลกับทุนทางสังคม จะพัฒนาให้คนเป็น “คนดี” 2) สมาธิ เป็นหลักการพัฒนาจิตใจให้มีสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการคิดพิจารณาตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำการใดๆ ได้อย่างถูกต้องตามจริง เปรียบได้กับทุนทางอารมณ์ ซึ่งก็คือการรับรู้ตนเอง มีศักดิ์ศรี และมีความยืนหยุ่นในการใช้ชีวิต ดังนั้นสมาธิกับทุนทางอารมณ์ จะพัฒนาให้คนเป็น “คนเก่ง” 3) ปัญญา เป็นหลักการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ รู้จักสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และสามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบหาสาเหตุของสิ่งทั้งหลายได้ชัดแจ้ง คือรู้จริง แก้ปัญหาได้ เปรียบได้กับทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาบุคคลให้มีขีดความสามารถหรือทุนทางปัญญาที่สูงขึ้น ดังนั้น ปัญญากับทุนทางปัญญา จะพัฒนาให้คนเป็น “คนมีความสุข”

The objective of this article is to study the integration of the Tri-sikkha principles for human capital development in the 21st century as follows: 1) Precepts are good behaviors, both physically, verbally and mentally. property collateral family security social security health insurance Comparable to social capital is to live with others happily not interfere have a good network of relationships with others; therefore, morality and social capital will develop people to be "good people" 2) Concentration is the principle of mental development to have the capacity and efficiency in thinking, making decisions, doing or not doing anything. correctly according to the truth Comparable to emotional capital which is self-awareness, dignity, and resilience in life. will develop people to be "skilled people". 3) Wisdom is the principle of developing knowledge and understanding. know things as they are and able to distinguish, analyze and investigate the causes of all things clearly, that is, to know the truth, to solve problems, to be comparable to intellectual capital. which is about capacity development aim for excellence develop people to have higher intellectual capacity or capital; therefore, wisdom and intellectual capital will develop into “Happy people” 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.