ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กฤษณะ จินตะนา, ทองปาน บุญกุศล, สุพจน์ เกิดสุวรรณ์

Abstract


บทความวิจัยนี้มีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐานของ Lin and Mintzes  และ Watson & Glaser เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 อำเภอพระสมุทรเจดีย์  จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  จำนวน 8 โรงเรียน 10 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 357 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านขุนสมุทรไทย จำนวน 16  คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และสถิติทดสอบ t-test dependent Samples และ t-test for one Samples

ผลการวิจัยพบว่า

          1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคม                 ที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

          2. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          ผลของการวิจัยนี้ครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ และพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.