ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

ธนันท์ชัย ฉัตรทอง

Abstract


บทความวิจัยนี้มีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Bass and Avolio และความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มประชากร คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันโพรดักโมเมนต์ (rXY)

ผลการวิจัยพบว่า

          1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.79,  = .27) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.87,  = .26)

          2. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ (181.71 คะแนน) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสุข มีค่าคะแนนสูงสุด (57.48 คะแนน)

          3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .047

          ผลของการวิจัยครั้งนี้จะช่วยชี้แนะให้ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา  ได้ทราบถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการปรับปรุงระบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลในระดับที่สูงขึ้นในการบริหารสถานศึกษา

This research paper is quantitative research. Use Bass and Avolio's transformational leadership concept and the Department of Mental Health's Emotional Intelligence. As a research framework, the research area is an elementary school under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, the population group is the school director, totaling 52 people. The research tool was a statistical questionnaire used in data analysis, consisting of frequency distribution, percentage, population mean (µ), standard deviation (), and Pearson product-moment correlation coefficient (rXY).

          The results of the Research work were as follows: : 

          1. The transformational leadership of the management overall at the highest level (µ = 4.79,  = .27). When considering each aspect, it found that taking into account the individual with the highest mean (µ = 4.87,  = .26).

          2. The executive emotional intelligence overall is higher than the normal score (181.71 points). When considering each aspect, it found that the happiness aspect had the highest score (57.48 points).

          3. The relationship between transformational leadership and emotional intelligence of school administrators under the Samut Prakan primary educational service area office 1. There was a statistically insignificant correlation at the .05 level with a correlation coefficient of .047.

          The results of this research will help guide school administrators and education administrators.Learned the importance of emotional intelligence in relation to transformational leadership. The results of the study can be used to improve the educational system administration. To achieve efficiency and effectiveness at a higher level in the administration of educational institutions.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.