การสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการ

พระมหาสามารถ ฐานิสสโร

Abstract


การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นแนวทางสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบบรรยายสู่การปฏิบัติ กล่าวคือผู้เรียนจะได้รับการเรียนการสอนแบบบูรณาการในสาระการเรียนรู้ ผ่านการผสมผสานเนื้อหาสาระภายในศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่ผสมผสานเนื้อหาระหว่างศาสตร์ เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลผลิต เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และพัฒนาการคิด การตัดสินใจ การทำงานร่วมกับคนอื่น สนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนตามแนวนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นความเชื่อมโยงของแต่ละวิชาที่มีต่อกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดเชื่อมโยง เช่น การสอนวิชาพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการในวิชาอื่น ๆ ในสาระสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาการสอนร่วมกัน ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้การสอนแบบท่องจำจึงไม่ได้เป็นการฝึกคิดที่จะนำไปสู่ทักษะในศตวรรษที่ 2๑ การสอนวิชาพระพุทธศาสนาท่ามกลางโลกในศตวรรษที่ 21 เราไม่ได้สอนศาสนาในฐานะความเชื่อแต่เราสอนศาสนาในฐานะวิชาการศึกษา เมื่อเรายกฐานะพระพุทธศาสนาเป็นอีกวิชาในการจัดการเรียนการสอนพุทธศาสนา จึงอยู่ในฐานะวิชาการศึกษาที่สามารถจัดการศึกษาได้ตามแนวคิดและทฤษฎีของการศึกษาพระพุทธศาสนาจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกทักษะ การคิดสร้างสรรค์ให้มากที่สุดเหมือนกับในรายวิชาพื้นฐานทั่วไป 

Teaching Buddhist subject by integration was the important for reform by child center. It was changed teaching by explaining to be practiced. There were learners will achieve teaching by integration accordance with substance then mixed with many within sciences or mixed between sciences. It was emphasized more than product then giving chance for them to practices develop desire and teamwork’s and selfsameness. These were Learning management would help them context each subject then supports learners to continue such as Buddhist subject can be integrated with for another subject too. Therefore, learning management with learn by heart has no support for learning skill on 21st century. So that, Buddhist teaching among 21st century which not for faithful only but teaching on behalf of subject. Then when we regarded Buddhist subject for one management that for studying according to Buddhist theory. Therefore, we have to studies Buddhist by emphasize for skill and then for new creative accordance with general subjects.   


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.