การเรียนการสอนตามหลักพุทธศาสนา

พระธราธิป วรวิชโย, อินถา ศิริวรรณ, ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่

Abstract


ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทย และเป็นส่วนหนึ่งในการหล่อหลอมวัฒนธรรมไทยมาอย่างช้านาน ในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนเกิดขึ้น วัดคือแหล่งการเรียนรู้ของคนในชุมชน และพระสงฆ์คือครูผู้สอนที่คอยอบรมและให้ความรู้ผ่านหลักธรรมต่าง ๆ กับชาวบ้านทำให้คนไทยในสมัยก่อนมีความใกล้ชิดกับพุทธศาสนาอย่างมาก และมองว่าพุทธศาสนาคือแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม แต่พอมาในยุคปัจจุบัน เมื่อโรงเรียนเข้ามารับหน้าที่จัดการศึกษาแทนวัด คนไทยก็เริ่มห่างจากพุทธศาสนามากขึ้น โรงเรียนหลายโรง แม้ว่าจะมีพื้นฐานมาจากการศึกษาที่วัดมาก่อน แต่พอเป็นโรงเรียนรูปแบบการศึกษาก็เปลี่ยนไป      

          การศึกษาในทางพระพุทธศาสนา เป็นการพัฒนาคนให้สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา และด้านสังคม ประการแรกการพัฒนาร่างกาย ได้แก่การพัฒนาตัวของบุคคลรวมถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบตัวบุคคลนั้นด้วย ประการที่สองการพัฒนาด้านจิตใจเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความรัก ความเมตตา ความกรุณาต้องอาศัยการฝึกอบรมกรรมฐานเพื่อให้ใจสว่างสะอาดและสงบ ประการที่สามการพัฒนาด้านปัญญา เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาให้สามารถหยั่งรู้สัจธรรมตามความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายซึ่งต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและประการที่สี่การพัฒนาด้านสังคม เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคมจะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นจัดเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา เพราะมีหลักการศึกษาหรือการเรียนรู้มีแหล่งที่มาของความรู้ การให้และรับความรู้มีระเบียบวิธีการศึกษาและมีเป้าหมายของการศึกษาคือการพัฒนาคนให้สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญาและสังคมตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา

Buddhism was belonging to Thai social then conclusion and cultivation still be Thai culture lasting. Long times go most of school established in temple and society. Monks where been teachers for all teaching. So that, local people have close up with Buddhism. They understood that Buddhism was good and absolutely. But Nowsday, when schools have sperate from temples then they rather be away from temple also. Although, many schools had established from temple but it had changed according to pattern.

          Buddhist studies were developing both physical and mental wisdom and social too. The first one for physical mean development persons and environment too. The second one for mental development to have lovely mercy and kindness. Therefore, they must be having meditation to cultivate mind clam and cool. The third one for wisdom development mean competency to know truly all source by mean practice meditation clearly. Then the fourth one for social development mean develop connection with all members. Therefore, Buddhism was the science for studies, because of principle or knowledge collection giving and ordering for education too. The goal of Buddhist education for developing persons to be perfectly both physical mental wisdom and social according to Threefold Training mean precept meditation and wisdom.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.