กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ปัณณวิชญ์ แสงหล้า, พระปลัด เขตขันฑ์ อิสฺสโร(คนงานดี), สนธยา สิทธิเกรียงไกร, พระครู อุดมธรรมจารี,ดร., สนธยา สิทธิเกรียงไกร

Abstract


การศึกษาเรื่อง กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจำหน่ายสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ วิเคราะห์กระบวนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ และพัฒนาช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์เขตตำบลวังหว้าและตำบลบางงาม ที่ดำเนินการวิจัย จำนวน 20 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและโดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์โดยการสรุปตามสาระสำคัญด้านเนื้อหาที่กำหนดไว้ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานกับระดับการปฏิบัติของเกษตรกรที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบันมีความสอดคล้องกับกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร

ผลการวิจัยดังกล่าว พบว่า

รูปแบบการจำหน่ายสินค้าของเกษตรกรมี 2 ช่องทาง มีพื้นที่จัดจำหน่ายผลผลิตและจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านระบบออนไลน์ได้แก่ระบบ Line@ รองลง Facebook และ Page ส่วนเกษตรกรที่มีอายุเกิน 55 ปียังขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มช่องทางจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรของกลุ่มเกษตรอินทรีย์แบบประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคมุ่งเน้นการบริการลูกค้าโดยตรงลักษณะเป็นการประกาศซื้อขาย ผลผลิต นำเสนอราคา แบบเจาะจงระหว่างเกษตรกรและผู้ซื้อที่สามารถสื่อสารกันโดยตรง ผ่านสมาชิกกลุ่มที่เป็นผู้ประสานงาน ในการน าเสนอผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มสมาชิกผ่านออนไลน์ พบว่าผู้บริโภคและผู้ประกอบการสามารถสอบถามและระบุความต้องการประเภทผลผลิตได้เร็วสะดวกทำให้ยอดการจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์มีมูลค่าสูงกว่าระบบออฟไลน์ที่นำผลผลิตไปจำหน่ายผ่านหน้าร้านของกลุ่มสมาชิก ส่วนการพัฒนาช่องทางการตลาดของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ใช้แนวทางการตลาดแบบไร้รอยต่อ (Omni Chanel Marketing) ได้แก่ 1)ช่องทางการสื่อสารการตลาด 2) การเชื่อมโยงช่องทางการตลาด 3) การเข้าใจพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภค 4)การส่งมอบประสบการณ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง 5) การสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคโดยเชื่อมโยงผ่านระบบออนไลน์และควบคู่ไปกับระบบออฟไลน์เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกันในการจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยผ่านกระบวนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้สื่อการเข้าถึงสื่อ และการนำสื่อไปใช้เชื่อมโยงช่องทางการตลาด ด้านผลผลิต ราคา ช่องทางการจำหน่ายและการให้บริการแบบเจาะจงนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์

The aims of this study were 1) to find out the distribution of organic groups, 2) to analyze process of using Information Technology to add value of the products, 3) and to develop market channels by using Information Technology of Organic Group Sri Prachan District, Suphan Buri. The sample was 20 organic farmers from Wang Wa sub-district and Bang Ngam sub-district.The research instruments used were indepth interview technique, and analyzed by fundamental factors and practice levels of organic farmers to add more value and increase marketing channels

          The results of the research work were as follows:

1) sale channels used mobile phones:Line, Facebook and Page for direct distribution. 2) IT is used for adding more value of the product and for direct sale while some farmers who are over 55 years old are not familiar with Information Technology. 3) Omni Channel Marketing (Seamless Marketing) was developed to increase market channels such as.1)Marketing communication, Marketing links, understanding behavior and expectation of consumers. 4) elivering a hand-onexperience to consumers continuously.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.