พุทธวิธีการบริหารของพระพุทธเจ้า

พระมหา ขุนทอง อคฺควโร, ดร.สัญญา พงษ์ศรีดา, ดร.สุรศักดิ์ จันพลา

Abstract


บทความนี้กล่าวถึง วิธีการบริหารของพุทธเจ้า ประกอบด้วย  1) พุทธวิธีในการวางแผน คือ การใช้วิสัยทัศน์กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และพันธกิจให้ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน 2) พุทธวิธีในการจัดองค์กร คือ การกระจายอำนาจ การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน 3) พุทธวิธีในการบริหารงานบุคคล คือ การจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร การจัดสรรภาระหน้าที่ให้ปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถ มีระบบการให้รางวัลและการลงโทษ 4) พุทธวิธีในการอำนวยการ คือ การสื่อสารเพื่อให้เกิดการดำเนินการตามแผน ผู้บริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีภาวะผู้นำ และ5) พุทธวิธีในการกำกับดูแล คือ การกำกับดูแล เป็นการควบคุมคุณภาพของการปฏิบัติงานภายในองค์กรรวมทั้งกระบวนการแก้ปัญหาภายในองค์กร ข้อสำคัญถ้าผู้บริหารนำหลักพุทธวิธีการบริหารของพระพุทธเจ้านำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารปกครององค์กร ยึดหลักธรรมาธิปไตยเป็นสำคัญ จะทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนองค์กรสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

This article discusses about administration techniques of the Buddha including 1) Buddhist planning method by using of vision to clearly set goals, objectives and missions for members to follow in the same direction. 2) Buddhist organizing method by decentralizing and respecting each other. 3) Buddhist personnel management method by training for personnel development, allocation of roles and responsibilities according to knowledge and ability and forming a reward and punishment system. 4) Buddhist directing method by communicating to implement the plan. Administrators must show good human relations and leadership. 5) Buddhist controlling method by supervising of the operation quality control as well as the problem solving process within the organization. Significantly, if the executives apply the Buddhist principle on administration for their organizations and act according to the Dhammadhipateyya, it will cause of love and unity of the organization that can help solving various problems efficiently.     


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.