กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

พระมหา ณัฏฐ์ดนัย ฐานวุฑฺโฒ (เนียมหอม), รศ.ดร.สมชัย ศรีนอก, ผศ.ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ 2 ประเด็น คือ (1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 และ (2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดกลางคลองสาม จำนวน 80 คน ใช้คู่มือในการจัดการเรียนรู้ แผนการสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่าทางสถิติต่าง ๆ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า t-test

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษาใบความรู้ ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ แยกแยะประเด็นตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยหลังเรียน (𝑥̅) ที่ 26.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ที่ 5.99 สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (𝑥̅) ที่ 18.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ที่ 6.49 ผู้เรียนบางส่วนมีความเข้าใจเนื้อหา ได้ไม่สมบูรณ์ผู้สอนจึงอธิบายสอดแทรก เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสัปปุริสธรรม 7 และสังเกตพฤติกรรม ผู้เรียนปรากฏว่า เกิดปฏิกิริยา ตอบสนองในการเรียนรู้และตอบปัญหาของผู้สอนได้ จึงดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน ผู้เรียนมีความเข้าใจตาม หลักสัปปุริสริสธรรม 7 มากขึ้น

          2. ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test การกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ประวัติความสำคัญและการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จำนวน 40 ข้อ ซึ่งใช้แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนคิดเป็นค่าเฉลี่ย 26.69 สูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นค่าเฉลี่ย 18.43 

The thesis entitled “The Learning Activities Based on Sappurisa-dhamma for Learning Achievement Development in Buddhism Subject of the 1st Year Secondary School” was a pre-experimental research consisting of two objectives: 1) to study the learning activities based on Sappurisa-dhamma for learning achievement development in Buddhism subject of the 1st year secondary school; and 2) to study the learning achievement of students after the learning activities based on Sappurisa-dhamma for learning achievement development in Buddhism subject of the 1st year secondary school. A sample was selected from 80 students of the 1st year secondary school of Wat Klang Khlong Sam school. The research instruments consisted of the manual for learning management, lesson plan, and the achievement test of before and after the learning. The data were analyzed and the statistics used were average (𝑥̅), standard deviation (S.D.) and t-test.

          The results of the study were as follows:

          1) The study of the learning activities based on Sappurisa-dhamma for learning achievement development in Buddhism subject of the 1st year secondary school found that after learning, the students had an average (𝑥̅) equal to 26.74 with a standard deviation (S.D.) of 5.99, which was higher than before learning that had an average (𝑥̅) equal to 18.49 with a standard deviation (S.D.) of 6.49. The study revealed that some students did not completely comprehend the lesson, so the teachers explained further about Sappurisa-dhamma and observed the students’ reaction and found that students were able to respond to the learning and answered the questions of the teachers. Therefore, the teachers proceeded with the learning activities in all 4 plans in order for the students to have more understanding about Sappurisa-dhamma.

          2) The study of the learning achievement before and after the learning activities based on Sappurisa-dhamma for learning achievement development in Buddhism subject of the 1st year secondary school, when comparing the average, standard deviation (S.D.) and t-test, it was found that in the section of history, importance and self-practice on an important day in Buddhism with 40 questions and 4 multiple-choice answers were different with a statistically significant difference at 0.05 level. This represented that the learning activities based on Sappurisa-dhamma enabled students to have the achievement after the learning with an average (𝑥̅) of 26.69 which was higher than before learning, with an average (𝑥̅) of 18.43


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.