รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักภาวนา 4 : ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก

สายรุ้ง บุบผาพันธ์, รศ.ดร.สมชัย ศรีนอก, ผศ.ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการพัฒนาสมรรถนะครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก (2) ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักภาวนา 4  ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก

          เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งจากผู้ให้ข้อมูล  หลัก 25 ท่าน เลือกแบบเจาะจงจากผู้มีความรู้ ด้านพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับหลักภาวนาด้านการพัฒนาสมรรถนะครูสังคมศึกษาของเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษาของเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว นำผลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาทำการวิเคราะห์ด้วย (SWOT Analysis) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักภาวนา 4 ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก และการเผยแพร่สู่สาธารณะชนในลำดับต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า

          รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักภาวนา 4 ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก มาใช้เป็นกรอบในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) กายภาวนา พัฒนากาย 2) ศีลภาวนา พัฒนาศีล 3) จิตภาวนา พัฒนาจิตใจ และ 4) ปัญญาภาวนา พัฒนาปัญญา บูรณาการเข้ากับการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับสมรรถนะครู โดยมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้

          1. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามกายภาวนา  ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน เพื่อให้ครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาสมรรถนะตนเอง ในการบริหารหลักสูตร พัฒนาผู้เรียน จัดการสภาพแวดล้อม และ บริหารหลักสูตร พัฒนาผู้เรียน จัดการสภาพแวดล้อม

          2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามศีลภาวนา  ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน เพื่อให้ครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม ยึดมั่นในอาชีพความเป็นครู ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม เป็นมิตรกับชุมชน จัดการการเรียนรู้ สังเคราะห์ปัญหา เสริมสร้างจริยธรรม

          3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามจิตภาวนา  ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน เพื่อให้ครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างสติ สมาธิ คิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้สู่นวัตกรรมที่ทันสมัย

          4. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามปัญญาภาวนา ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน เพื่อให้ครูสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างปัญญา แสวงหาความรู้ พัฒนาระบบบูรณาการที่ทันสมัย เป็นแบบอย่างที่ดี และออกแบบการเรียนรู้ สืบเสาะข้อมูล เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

Objectives of this research were: 1. to study general conditions of social studies teachers’ competency development in the 21st century in accordance with Bhâvanâ IV Principles for the Tak Province Border area, 2. To study internal and external factors affecting the social studies teachers’ competency development in the 21st century in acccordance with Bhâvanâ IV Principles for the Tak Province Border area and 3. To propose a model of social studies teachers’ competency development in the 21st century in accordance with Bhâvanâ IV Principles for the Tak Province Border area.

          Methodology was the quantitative research, collected data with steps: Step I; data were collected from 25 key informants, purposefully selected, from the experts in Buddhism especially the Bhavana4, the experts in social studies teachers’ competency at Tak Province Border area, with structured in-depth-interview script, by face-to-face interviewing, then, data were analyzed by SWOT analysis and formulate into a model of social studies teachers’ competency development in accordance with Bhavana 4 for publicly publicizing later on. 

          Findings were as follows:         A.model.of.social.studies.teachers’.competency.development.in.the.21st.century in accordance with Bhavana4 for the teachers at Tak Province border areas consisted of 1).physical.development,.2) precept development, 3) mind development and 4) Wisdom development by integrating with competency development in the 21st century by the Ministry of Education that indicated the methods of teachers competencies development by the following methods:

          1. The method of teachers’ competencies development in the 21st century according to Kâyabhâvanâ or physical development for teachers at Tak Province border areas consisted of core and functional competencies that the teachers in the 21st century would conduct self competency development for curriculum administration, learners development and environmental development.

          2. The method of teachers’ competencies development in the 21st century according to Silabhâvanâ or precepts development for teachers at Tak Province border areas consisted of core and functional competencies that the teachers in the 21st century would conduct self competency development for behavior development, adhering to professional code of conducts for teachers, appropriately behaving, friendly to communities, learning management, problems synthesis and morality enhancement. 

          3. The method of teachers’ competencies development in the 21st century according to Cittabhâvanâ or mind development for teachers at Tak Province border areas consisted of core and functional competencies for the teachers in the 21st century would conduct self competency development for mindfulness, concentration enhancement, creatively critical analysis, knowledge exchange for modern innovation. Applying.psychology for learner’s development.

          4. The method of teachers’ competencies development in the 21st century according to Paññâbhâvanâ or wisdom development for teachers at Tak Province border areas consisted of core and functional competencies for the teachers in the 21st century to develop competency for wisdom promotion, knowledge seeking, modern integrated system development, setting a good example, learning method design, data seeking for up-keeping with new changes.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.