การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) โดยใช้วิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 45 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสอนตามหลักไตรสิกขาในการพัฒนาการเรียนการสอน รายวิชาหน้าที่พลเมือง หน่วยการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การสอนตามหลักไตรสิกขาในการพัฒนาการเรียนการสอน วิชา หน้าที่พลเมืองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ หน่วยการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาการใช้วิธีการสอนตามหลักไตรสิกขา เรื่อง สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน มีระเบียบวินัย ทั้งทางกาย และ วาจา นักเรียนมีนิสัยในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งการทำงานกันอย่างเป็นระบบ รู้จักทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี และรักษาเวลาในการทำงานอย่างตรงเวลาตามที่ผู้สอนกำหนด มีความสามัคคีกันในการทำงาน รักษากฎระเบียบของกลุ่ม ศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยความตั้งใจ นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองได้ในการแสวงหาความรู้ กล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก ทำให้ ผู้เรียนสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ใช้กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขา เรื่อง สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
This research was the Pre-Experimental Research by One Group pre-test Post-test Design The example groups for research were the 4/9th Secondary Students academic year 2019 Piriyalai School Prae Province 1 class room students’ number 45 persons by using Purposive Sampling. It was the objective as namely. 1) To study Threefold Training for Civics Management Development unit 3rd learning named Thai human right. 2) To compare the achievements according to Threefold Training for Civics Management Development of the Secondary Students Piriyalai School Prae Province unit 3rd learning named Thai human right. The implements for this research were lesson plan Thai civics unit 3rd learning according to Threefold Training process and question for achievement civic of the 4/9th Secondary Students Piriyalai School Prae Province numbers 20 items.
Result had found that:
1. The result for studying according to Threefold Training for Thai human right group of social religion and culture for civic subject of the 4/9th Secondary Students Piriyalai School Prae Province. It was found that Threefold Training management could develop learners to have discipline both physical and speech. They were known a system for teamwork their duties and punctual for working. They were harmony for work group studied and attention. They could practice by themselves to seeking knowledge dare for speaking doing acting until got their goal as est.
2. The result from comparison pre-test and post-test according to Threefold Training named Thai human right group of social religion and culture for civic subject of the 4/9th Secondary Students Piriyalai School Prae Province. It was found that post-test had point more than pre-test by significant statistics as .05 according to hypothesis as set.
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.