การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์วิชาธรรมหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพมหานคร

พระมหา คณาวุฒิ อคฺคปญฺโญ (บำรุงทรัพย์), รศ.ดร.สมชัย ศรีนอก, ผศ.ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ One Group  Pre-test – Pos-test Design โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์วิชาธรรม หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์วิชาธรรม หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพมหานคร ขนาดประชากรจำนวน 15 คน ได้มาโดยการคำนวณด้วยสูตรของ  เครซี่และมอร์แกน Krejcie and Morgan ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาธรรมหมวด 2 ในหลักสูตรธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ จำนวน 4 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 4 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และการทดสอบค่า (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์วิชาธรรม หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งได้งานตามที่มอบหมายในสาระรายวิชา ซึ่งแต่ละกลุ่มได้เรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มของตน เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นในห้องเรียน พร้อมทั้งการอภิปรายร่วมกันแต่ละหน่วยการเรียนรู้  2) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มของตัวเองได้เป็นอย่างดี มีความตื่นตัวในการเรียนรู้สามารถแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ให้เพื่อนในกลุ่มได้เรียนรู้ พร้อมทั้งตอบข้อซักถามจากกลุ่มอื่นได้ดี เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ผู้เรียนบางส่วนมีการเรียนรู้ช้ากว่าเพื่อน แต่เมื่อมีการทำงานเป็นกลุ่ม มีการซักถาม อธิบายในส่วนที่เพื่อนไม่เข้า ทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนเข้าใจในสาระรายวิชานั้นได้ดียิ่งขึ้นตามการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาธรรม หลักสูตรธรรมศึกษาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพมหานคร พบว่า การทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 9.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.167 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 17.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) = 1.437 ค่าความเฉลี่ยของผลต่างเท่ากับ 8.57 และเมื่อทดสอบค่า t=test เท่ากับ 42.426 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์วิชาธรรม หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

The thesis entitled “The Learning Management Based on the Group Relation Process of Dhamma Subject under the First Grade Dhamma Studies Program for the 6th Year Primary School Students, Watarwutwikasitaram School, Bangkok” is the pre-experimental research by using one-group pretest-posttest design. The thesis consisted of two objectives: 1) to study the learning management based on the group relation process of Dhamma subject under the first grade Dhamma studies program for the 6th year primary school students; and 2) to study the achievement of before and after learning by using the learning management based on the group relation process of Dhamma subject under the first grade Dhamma studies program for the 6th year primary school students. A sample consisted of 15 students of the 6th year primary school, Watarwutwikasitaram school, Bangkok. A sample was selected by using the Krejcie & Morgan method while the purposive sampling of 1 classroom was used to conduct the study. The research instruments were: 1) the learning management based on the group relation process; and 2) the achievement test of before and after learning in Dhamma subject under the Dhamma studies program for the 6th year primary school students, consisting of 20 questions, 4 plans and 1 hour for each plan. The statistics used were average (), standard deviation (S.D.) and t-test.

From the study, it was found as follows:

1) From the results of the learning management based on the group relation process of Dhamma subject under the first grade Dhamma studies program for the 6th year primary school students, it revealed as follows: 1.1) the learning management based on the group relation process can divide the students into two groups with the assigned work by which each group learns together within their own group to present and exchange learning with other groups in the classroom, as well as having discussions together in each learning unit; 1.2) each group learns well together within their own group and expresses helpful opinions for friends in the group to learn. As well as answering questions from other groups, resulting in an effective exchange of knowledge together; and 1.3) Some learners can learn slower than others, but when working in groups with questions and explanations in areas that some still do not understand, leading to an exchange of knowledge, resulting in each person has a better understanding which is according to the learning method based on the group relation process.

2) From the learning achievement of Dhamma subject under the Dhamma studies program for the 6th year primary school students, it revealed the result from doing the test before learning has an average (x̄) of 9.14 with the standard deviation (S.D.) of 1.167. While after learning has an average (x̄) of 17.71 with the standard deviation (S.D.) of 1.437. The average of the differences is at 8.97 and the t-test is equal to 42.426. When comparing the achievement of before and after learning by using the learning management based on the group relation process of Dhamma subject under the first grade Dhamma studies program for the 6th year primary school students, it was found that after learning has a higher score than before learning with a statistically significant difference at 0.05 level, according to the assumptions set.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.