การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร

พระมหา นพพร อภิพนฺโธ (ศรีวัฒนสกุลชัย), ผศ.ดร.ชวาล ศิริวัฒน์, ผศ.ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre - Experimental One Group Pretest Posttest Design) โดยใช้วิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการจัดการแบบร่วมมือรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเษก กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักการจัดการ วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามหลักการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาพระพุทธศาสนา
เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานครผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการทำงานและเรียนรู้เป็นกลุ่ม ซึ่งในระหว่างกิจกรรมการเรียนนั้นผู้เรียนแต่ละคนรู้จักแบ่งหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในงานที่เป็นส่วนของตน ผู้เรียนเข้าใจการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เรียนรู้การเข้าสังคมผ่านกิจกรรมการทำงานกลุ่ม เข้าใจเนื้อหาเรียนเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทำให้นักเรียนได้ทั้งสาระเนื้อหาและคุณธรรม ที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์คะแนนก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย () = 8.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.508 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 17.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.478 สรุปว่ามีผลทางการเรียนรู้หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

The thesis entitled “The Management of the Collaborative Learning Activities on Buddhism Subject of the 2nd Year Secondary School Students, Taweethapisek School, Bangkok” is the pre-experimental research by using one-group pretest-posttest design. A sample was selected from 39 students who were studying in the 2nd year of the secondary school of the academic year 2019 (B.E. 2562) of Taweethapisek school, Bangkok. The purposive sampling was used to conduct the study. The study consisted of two objectives: 1) to study the management of the collaborative learning activities on Buddhism subject about the important Buddhist days of the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school; and 2) to study the achievement of before and after learning by using the management of the collaborative learning activities on Buddhism subject about the important Buddhist days of the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school. The research instruments consisted of the learning management plan on Buddhism subject about the important Buddhist days, as well as achievement test on the important Buddhist days according to the collaborative learning activities management.

From the study, it was found as follows:

1) The results of the collaborative learning activities management on Buddhism subject about the important Buddhist days of the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school revealed that the collaborative learning activities management refers to the learning management that focuses on work and group learning which during the activities, each student learns to share duties and responsibilities in their own work. When students understand how to work with others, they are cultivated to learn to socialize through group work activities and the understanding of important Buddhist days can help students to gain both the content and virtue for adapting and using in daily life.

2) The results of the achievement of before and after learning by using the management of the collaborative learning activities on Buddhism subject about the important Buddhist days of the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school showed that before learning has an average () of 8.79 with the standard deviation (S.D.) equal to 1.508. While after learning has an average () of 17.03 with the standard deviation (S.D.) equal to 1.478. In conclusion, after learning has a higher score than before learning with a statistically significant difference at 0.05 level, according to the assumptions set.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.