การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร

พระสุรพล อาภรโณ (ไกรรอด), ผศ.ดร.ชวาล ศิริวัฒน์, ผศ.ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

Abstract


การวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) โดยใช้วิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา เรื่องการบริหารจิตและการเจริญปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา เรื่อง การบริหารจิตและการเจริญปัญญา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร พบว่า สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้และคู่คุณธรรม นักเรียนมีความสุขในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งภาระงานอย่างเป็นระบบ นักเรียนรู้จักหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี สืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้อย่างตั้งใจ มีความสามัคคีในการทำงาน มีน้ำใจช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี รู้จักการรับฟังเหตุผลของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม รักษากฎระเบียบของกลุ่ม นักเรียนนำเสนอผลงานอภิปรายหน้าชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 8.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.852 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 17.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.847 สรุปหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

The thesis entitled “The Management of Learning Activities Based on the Group Relation Process in the Learning Strand of Buddhism for the 2nd Year Secondary School Students, Taweethapisek School, Bangkok” is the pre-experimental research by using one-group pretest-posttest design. A sample was selected from 40 students who were studying in the 2nd year of the secondary school in class 1. The purposive sampling was used to conduct the study. The study consisted of two objectives: 1) to study the management of learning activities based on the group relation process in the learning strand of Buddhism for the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school, Bangkok; and 2) to study the achievement of before and after learning by using the management of learning activities based on the group relation process. The research instruments consisted of the Buddhism learning management plan on mental management and intellectual development, as well as the 20-question achievement test for the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school, Bangkok.

The study found as follows:

1) From the management of learning activities based on the group relation process in the learning strand of Buddhism for the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school, Bangkok, it revealed the following developments on students from the said management: students are developed to have both knowledge and virtue; students are happy in working as a group; students share the responsibilities systematically; students know their duties well; students can search for information from the source with full intention; students have unity in work as well as being kind and helpful toward each other; students learn to listen to the reason of friends in the group; students follow the rules of the group; and students can do the presentation well in class and have discussions with friends by having the courage to express opinion.

2) From comparing the achievement of before and after learning by using the management of learning activities based on the group relation process in the learning strand of Buddhism for the 2nd year secondary school students, Taweethapisek school, Bangkok, it was found that before learning has the average () of 8.43 with the standard deviation (S.D.) equal to 1.852. While after learning has the average () of 17.23 with the standard deviation (S.D.) equal to 1.847. In conclusion, after learning has a higher score than before learning with a statistically significant difference at 0.05 level, according to the assumptions set.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.