การสอนวิชาพระพุทธศาสนาด้วยหลักอิทธิบาท 4 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

พระมหา ศุภฤกษ์ สุภทฺทจารี (สีวันคำ), พระเทพ ปัญญาภรณ์,ดร., พระวิเทศ พรหมคุณ,รศ.ดร.

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) โดยใช้วิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 28 คน ของโรงเรียนอนุบาลตากฟ้า ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาด้วยหลักอิทธิบาท 4 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และ2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการใช้หลักอิทธิบาท 4 กับการเรียนการสอนของวิชาพระพุทธศาสนา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการใช้วิธีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาด้วยหลักอิทธิบาท 4 ในระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ผลการวิจัย พบว่า อิทธิบาท 4 นั้นจะมีความสอดคล้องกัน คือ เมื่อมีฉันทะ พอใจที่จะเรียนแล้ว ก่อให้เกิดความเพียร พยามเกิดขึ้นเพราะหวังที่จะเรียนให้ได้ผลดีตามที่ตนเองปรารถนา เมื่อขณะที่เรียนก็มีความเอาใจใส่ เชื่อฟังตามที่ครูสอน ไม่หยอกล้อเพื่อเล่น ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับมอบหมายจากครู เมื่อส่งงานให้ครูแล้วเห็นความบกพร่องหรือผิดพลาดเกิดขึ้นก็พิจารณาหาข้อผิดพลาดนั้น แล้วก็แก้ไขเพื่อที่จะทำให้งานนั้น สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสอนตามหลักอิทธิบาท 4 กับการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 8.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.347 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 16.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.950 เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

This research was the Pre-Experimental Research by using One Group Pre-test and Post-test Design. The example group for this research were the 6th primary students 1 classroom number 28 persons of Takpa Kindergarten School Nakornsawan Province who were studied in second semester by Purposive Sampling. The objective was 1) to study the approach of Buddhist teaching according to the 4 Noble Truth of the 6th Primary Students Takpa Kindergarten School Nakornsawan Province and 2) to compare the achievement from Pre-test and Post-test by using the approach of Buddhist teaching according to the 4 Noble Truth of the 6th Primary Students Takpa Kindergarten School Nakornsawan Province.

Result had found that

1) The result from approach of Buddhist teaching according to the 4 Noble Truth of the 6th Primary Students Takpa Kindergarten School Nakornsawan Province had found that the 4 Noble Truth mean satisfaction for learning they should be effort to be succeed as their wished. They while learning was had attention listening according teacher explain. They did not play with others and then respond all works from teacher, they did not any defective or error. They had attention to do good works and completely.

2) The result from comparison of achievement from using One Group Pre-test and Post-test Design with an approach of Buddhist teaching according to the 4 Noble Truth of the 6th Primary Students Takpa Kindergarten School Nakornsawan Province by average Pre-test () = 8.96, standard deviation (S.D.) = 1.347 then Post-test by average () = 16.89, standard deviation (S.D.) = 1.950 then when comparing found that Post-test higher than Pre-test by statistics significant at .05 according to hypotenuses at set.  


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.