การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น ( Pre-Experimental Research ) โดยใช้วิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้วิธีการสอนตามหลักไตรสิกขา เรื่อง ความเป็นมาของชาติไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขา เรื่อง ความเป็นมาของชาติไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ความเป็นมาของชาติไทย โดยใช้กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย ตามหลักไตรสิกขา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาการใช้วิธีการสอนตามหลักไตรสิกขา เรื่อง ความเป็นมาของชาติไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน มีระเบียบวินัย ทั้งทางกาย และ วาจา นักเรียนมีนิสัยในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งการทำงานกันอย่างเป็นระบบ รู้จักทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี และรักษาเวลาในการทำงานอย่างตรงเวลาตามที่ผู้สอนกำหนด มีความสามัคคีกันในการทำงานรักษากฎระเบียบของกลุ่ม ศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยความตั้งใจ นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองได้ในการแสวงหาความรู้ นักเรียนแต่ละกลุ่มกล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก ทำให้ ผู้เรียนสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ใช้กระบวนการสอนตามหลักไตรสิกขา เรื่อง ความเป็นมาของชาติไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

This research was an Experimental Research by using one group pre-test and post-test. The example group for this research mean students who were studying in secondary level 1/2  academic year 2562 Prea Piriyalai School mueng district Prea province number 1 class room for students amount 36 persons selection by Purposive Sampling with the purpose were, 1) to study teaching according to Threefold training case Thai derivation. The group learning were social religions and culture and History of Thai subject of the 1st secondary students Prea Piriyalai School Prea province. 2) To compare achievement for pre-test and post-test. Learning by using process learning according to Threefold Training case Thai derivation. The group learning were social religions and culture and History of Thai subject of the 1st secondary students Prea Piriyalai School Prea province, the implements for this research were as, lesson plan History of Thai unit 3 case Thai derivation by using process learning according to Threefold Training and paper test for achievement learning management History of Thai according to Threefold Training of secondary students level ½ Prea Piriyalai School.

Result had found that

1. Result from studied by using according to Threefold training case Thai derivation. The group learning were social religions and culture and History of Thai subject of the 1st secondary students Prea Piriyalai School Prea province had found that, learning management according to Threefold training can develop and cultivate students have concentrate for learning have discipline both physical and speech. They have behavior for working group and set their works by systemically, then well known their works and punctually as teacher set. They were harmony for work and regulations in group study research and intention to get knowledge. They have ability to practice for learning knowledge by themselves. They were all groups brave for speaking thinking acting and then, they can get succeed the purpose as teacher had set.

2. Comparisons result achievement from pre-test and post-test. by using process learning according to Threefold training case Thai derivation. The group learning were social religions and culture and History of Thai subject of the 1st secondary students Prea Piriyalai School Prea province had found that, post-test higher than pre-test by statistics significance as .05 that consistent with set hypotenuses.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.