แนวทางพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract
งานวิจัยนี้ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของพระนิสิตเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาพรวม เห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อที่เห็นด้วยในระดับมากที่สุด คือ ขั้นตอนของการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนและการดำเนินงานล่าช้า รองลงมา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกัน 2 ข้อ คือ โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเอาหลักศีล 5 มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน, พระนิสิตมีความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำกิจกรรมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ให้แก่คณะกรรมการโครงการฯ และชาวบ้าน ข้อสุดท้ายพระนิสิตมีการให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการให้กับคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ตามลำดับ 2. ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือคณะกรรมการโครงการขาดการประชุมติดต่อประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง และไม่ทราบถึงบทบาทที่ชัดเจนในการทำหน้าที่ ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาเข้าร่วมโครงการ ภายในชุมชนมีปัญหาความขัดแย้งในมิติต่าง ๆ ทำให้ชาวบ้านแตกแยกขาดความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม ขาดผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี กิจกรรมการรักษาศีล 5 เป็นเพียงพิธีกรรมทางศาสนา ประชาชนขาดความตระหนักเห็นความสำคัญของศีล และวัดที่อยู่ในชุมชนขนาดเล็กขาดงบประมาณในการบริหารจัดการโครงการ 3. แนวทางส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 คือ จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาศักยภาพพระภิกษุสามเณรให้มีความรู้ความสามารถในการเผยแผ่ ส่วนคณะกรรมโครงการควรมีการจัดประชุมกันอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ทั้งควรมีการร่วมกันระดมทุน การมอบหมายภาระหน้าที่ที่ชัดเจน พระภิกษุผู้ปกครองในระดับต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงาน ภาครัฐควรมีการจัดประกาศยกย่องบุคคลผู้เป็นต้นแบบทางด้านศีลธรรมอย่างเป็นทางการ พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่แนะนำประชาชนให้ตระหนักเห็นความสำคัญของศีล โดยการแนะนำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องศีล ชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ที่สังคมพึงได้รับ และชี้ให้เห็นถึงโทษของการล่วงละเมิดศีล ซึ่งควรมีการนัดประชุมร่วมกันทำกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5 อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง โดยร่วมกันระดมความคิดหากิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายมีความเหมาะสมสอดคล้องกับชุมชน
This research have The results of study were as follows: 1. The opinions of students for driving the project of village with five precepts in Mahachulalongkornrajavidyalaya got higher when considering the in descending order from the highest to lowest. That they agreed on the most stage of implementation the project of village with five precepts. A complicated and delayed implementation Inferior to the average level. The average means is at the same level of 2 items; 1) the village five precepts help promote public awareness about the application of the five precepts to the daily life, 2) Monks and novices have the ability to provide advice on the activities of the project of village with five precepts to the project committee and the villagers, The last item is to provide advice on the implementation of the project to the committee in the levels of village, sub-district and district respectively. 2. Problems and Barriers in driving the Project are as follows; The Conference Board is lack of coordination and continuously meetings as well as do not realize the precise roles in acting. Most do not have time to participate. Within the community, there are controversial issues in various dimensions. Villagers lack of cooperation on the divisive activities. Lack of leadership as a role model. The five precepts are merely the religious ritual. Lack of public awareness of the importance of the precept, and a lack of funding in a small community in project management. 3. Ways to promote the Project are to establish a working group to develop monk’s competent in knowledge deliverance. The meeting of the project committee should be held continuously of at least twice a month. There should also be a joint funding. Assigning clear responsibilities, Buddhist administrative monks at various levels should act as an intermediary to coordinate. The government sector should glorify the one who act as a moral model. Monks should serve introducing the public to realize the importance of the precepts by introducing them to a deeper understanding of the precepts and pointed out the social benefits they may receive, and pointed out the danger of abuse of the precepts. This should be some meeting of at least two times a month, by brainstorming about the appropriate activities for the community.
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.