การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีล เบญจธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่

สุรชัย แก้วคูณ, รศ.ดร.สมชัย ศรีนอก, ผศ.ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

Abstract


การศึกษาวิจัยผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ โดยการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 13.25 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 22.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนเรียน = 2.514 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังเรียน = 1.430 และผลการทดสอบ T-Test ก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าทางสถิติที่ -35.829 แสดงว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผลการวิเคราะห์ความต่างของผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนรู้และหลังเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีล เบญจธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ได้ดังนี้ 2.1 คะแนนแบบทดสอบความรู้ก่อนการเรียนรู้ มีคะแนน 561 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 17.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 4.21 จากคะแนนทั้งหมด 810 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 69.25 2.2 คะแนนแบบทดสอบความรู้หลังการเรียนรู้ มีคะแนน 627 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 3.87 จากคะแนนทั้งหมด 810 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.40 2.3 ความต่างของผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ โดยรวมต่างกัน 66 คะแนน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลแล้วโดยรวมแล้วนั้นมีพัฒนาการ ความก้าวหน้าต่อการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ คิดเป็นร้อยละ 8.14 ซึ่งนั้นหมายความว่า นักเรียนตอบสนองต่อกระบวนการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ เพราะมีความแตกต่างกันระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ ก่อนเรียนรู้และหลังเรียนรู้ พบว่า การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยแบบทดสอบจำนวน 30 คะแนน ดำเนินการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียนรู้ มีผลสำสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังการเรียนรู้สูงก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

The thesis entitled From the study, it was found as follows: 1) The result showed that the learning management based on the Four Noble Truths by doing the learning achievement test before learning had an average () equal to 13.25 with the standard deviation (S.D.) of 2.514. While after learning, the average () was at 22.24 with the standard deviation (S.D.) of 1.430. When compared by using a t-test, it revealed that both before and after learning had statistical values of -35.829, indicating that the learning achievement after learning was higher than before learning with statistical significance at the level of 0.05. 2) The results of the learning achievement differences between before and after learning Buddhism subject on the Five Precepts and Five Virtues of the 2nd year secondary school students are as follows: 2.1) The pre-learning test scores had a score of 561, the average was at 17.24 with a standard deviation (S.D.) of 4.21 from a total of 810 points, equivalent to 69.25 percent. 2.2) The post-learning test scores had a score of 627, the average was at 30.22 with a standard deviation (S.D.) of 3.87 from a total of 820 points, equivalent to 77.40 percent. 2.3) The overall differences of the learning achievement of before and after learning through learning management based on the Four Noble Truths were at 66 points, the average was at 11.34 with a standard deviation (S.D.) of 2.40. When considered individually, overall had developments and progression based on the learning management according to the Four Noble Truths, accounting for 8.14 percent. 3) From the comparison of the learning achievement based on the Four Noble Truths of before and after learning through the 30-score learning achievement test by which the researcher analyzed the averages, percentages, standard deviations and compared the student's average scores of before and after learning, it was found that after learning had a high level of learning achievement than before learning with statistical significance at the level of 0.05.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.