การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมไทยยุคปัจจุบัน

กิตติชัย สุธาสิโนบล, พระศรี ธรรมภาณี,ดร., พระมหา นพดล ธมฺมานนฺโท, พระมหา ณรงค์ราช ปณิธานธิติ, นิรุต ป้องสีดา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน คือ 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นพัฒนาสติสัมปชัญญะ ขั้นที่ 2 ขั้นสะท้อนแนวคิดและประสบการณ์ ขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนาปัญญา ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือปฏิบัติอย่างเป็นองค์รวม ขั้นที่ 5  ขั้นปรับแต่งและลงข้อสรุป ขั้นที่ 6 ขั้นตระหนักรู้หลักธรรมสู่การนำไปใช้ และขั้นที่ 7 ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งผู้วิจัยเรียกรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ว่า  Mindfulness Based Learning Model : MBL 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่า อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมาก (= 4.79, S.D.=0.32) 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังคมไทยยุคปัจจุบัน โดยภาพรวม พฤติกรรมวินัยในการเรียนของผู้เรียน ทักษะทางสังคมของผู้เรียน เจตคติต่อการเรียนของผู้เรียน และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The research findings were as follows: 1. The buddhist instructional model of mindfulness based learning composed of 7 steps: a. mindfulness development, b. reflections on concepts and experiences, c. wisdom development, d. holistic practice, e. customize and conclude, f. awareness the Phutthathorn into application, g. share experiences & learn together. This instruction model was name mindfulness based learning Model. 2. The experts’ opinion towards the teaching model was highly positive (= 4.79, S.D.=0.32) 3. The three aspects of students disciplines, social skill, attitude towards learning and problem solving ability the Students post test achievement scores were also significantly higher than their pre test scores at .01 level.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.