สิทธิของวัดในทรัพย์มรดกของพระภิกษุตามกฎหมาย The right of the temple to heritage of the monk to the law
Abstract
ประเทศไทยมีวัดมากกว่า 40,000 วัด แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า นำไปสู่การบริจาคทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล แต่ทว่าหลายครั้งที่ความศรัทธาถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากคนบางกลุ่ม ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า บรรดาทรัพย์สินทั้งหลายที่พระภิกษุได้รับมาจากการบริจาคในขณะครองสมณเพศนั้น มีสถานะในทางกฎหมายอย่างไร รวมถึงสิทธิของวัดในการรับมรดกของพระภิกษุด้วย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อกฎหมายที่มีอยู่ และค้นหาช่องว่างกฎหมายที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อสังคม โดยวิเคราะห์จากบทบัญญัติภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้พบข้อสรุปดังนี้
1. สิทธิตามกฎหมายของพระภิกษุในทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนั้น ถือว่าเป็นการได้มาจากการให้โดยสเน่หาย่อมตกเป็นของวัดหรือของพระภิกษุก็ได้ ตามแต่เจตนาของผู้ให้
2. สิทธิในการได้รับมรดกของพระภิกษุตามกฎหมาย กฎหมายจำกัดสิทธิว่า หากพระภิกษุจะเรียกร้องทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมแล้ว จะต้องสึกจากสมณเพศเสียก่อน ซึ่งเหมาะสมกับคุณธรรมทางกฎหมาย
3. การตกทอดมรดกของพระภิกษุตามกฎหมาย ให้แยกพิจารณาว่า ทรัพย์มรดกนั้นได้มาเมื่อใด หากทรัพย์นั้นได้มาก่อนอุปสมบทย่อมตกได้แก่ ทายาทโดยธรรม แต่หากได้มาหลังจากอุปสมบทย่อมตกได้แก่ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ เว้นแต่พระภิกษุจะได้จำหน่ายไปด้วยวิธีการอื่น ข้อยกเว้นของกฎหมายนี้เอง จึงอาจไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผู้บริจาคที่ต้องการให้ทรัพย์สินบริจาคแด่พระภิกษุตกได้แก่วัด อันเป็นช่องว่างของกฎหมายที่จะทำให้พระภิกษุผู้ประพฤติผิดแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากวัดได้ กฎหมายมรดกของพระภิกษุจึงสมควรมีการแก้ไขปรับปรุงต่อไป ให้ทรัพย์มรดกของพระภิกษุซึ่งได้มาด้วยการบริจาคนั้น ยังคงตกได้แก่วัด แม้ว่าพระภิกษุจะทำพินัยกรรมมอบไว้ให้แก่บุคคลอื่นแล้วก็ตาม หลักการนี้ ย่อมถูกต้องตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาคมากกว่า และจะทำให้ลดช่องทางแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากวัดได้ อันจะนำไปสู่การสืบทอดพระพุทธศาสนาได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
There are over 40,000 temples in Thailand. It shows how extreme belief of Thai Buddhist are, this belief bring a lot of money and various properties to the temples. But somebody often seek to benefits from the belief as device, so it make confused on their properties that the monk gets from donations while ordained; what legal standing of donate properties is, and all temple rights in succession of the monk also.
This article aim for legal study in being law issue and search for any gap may influenced the social, under analyzed Civil and Commercial Code as the law related, found the conclusion below;
1. Right of monk in his donate properties by the law was gratuitous act, devolved on either the temple or monk as donor’s will.
2. Right of monk succession, law limits the monk who needs to claimed estate as statutory heir was left the monkshood first, It seem appropriated with legal moral.
3. Succession of the monk by law consider separated when the monk get donate properties. If he got it before ordain, his estate devolved on the heirs, but he got it after ordained, his estate devolved on the domicile temple except he distribute another way. This exceptional does not in accordance with donor’s will that prefer devolve on the temple. This gap can makes the bad monk seek to private benefits from the temple. Therefore, the law on succession ought to modify become devolve on the temple even had exceptional. This rule is due process of donor’s will and cut down the gap of seek to private benefits from the temple, and bring to sustainable carry on Buddha forever.
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.