การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรม ของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน DEVELOPMENT OF STRENGTHENING COMMUNITY-BASED STRENGTHENING PROCESS OF BUDDHISM TAMBON BANTON MUANG DISTRICT LAMPHUN PROVINCE

Wasitpol , Ranee Goolprom , Wongkongdech

Abstract


    งานวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองจังหวัดลำพูนมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบริบทชุมชนเข้มแข็งของประชาชนเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งของประชาชนเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน และ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูนตามหลักพุทธธรรม    

              ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาโดยการใช้กระบวรการทางทฤษฏี term 1.Technology เทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีนั้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาเป็นเรื่องสำคัญ ที่ภาครัฐต้องนำมาใช้ เพื่อบริการประชาชนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว 2.Economic เศรษฐกิจ ปัจจุบันด้านเศรษฐกิจ มีความสำคัญยิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน เศรษฐกิจดี ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ทำให้ประชาชนกินดี อยู่ดี ประชาชนไม่มีหนี้สิน ชุมชนก็เข้มแข็ง 3.Resource ทรัพยากร ด้านทรัพยากรบุคคลถือว่าสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาต่างๆ ต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ 4.Mental จิตใจ ความเข้มแข็งของชุมชนเริ่มต้นที่จิตใจเป็นสำคัญ ถ้าประชาชนมีจิตใจที่อ่อนแอไม่เข้มแข็ง ก็พ่ายแพ้แก่ปัญหาชีวิต  นอกจากนั้นก็มีการพัฒนากระบวนการสร้างความเข้มแข็งด้วยหลักพุทธธรรม จักร 4 (ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง) ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย หลักจักร 4 มีประยุกต์ใช้เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน คือ จักร 4 ได้แก่ 1. ปฏิรูปเทสวาสะ (อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม) ชุมชนตำบลต้นธงถือว่าตั้งอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมทั้งด้าน อาณาเขตที่สะดวกสบายด้านการสัญจร เอื้ออำนวยต่อหลายๆด้าน 2. สัปปุริสูปัสสยะ (สมาคมกับสัตบุรุษ) คือการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการเสวนา คบหาบุคคลอื่นที่เป็นคนดีมีกัลญาณมิตร 3. อัตตสัมมาปณิธิ (ตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นำตนไปถูกทาง) ในตำบลต้นธงดังกล่าวมาแล้วว่ามีโครงการฝึกอบรมธรรมะแก่ประชาชน  หลายโครงการ เช่น พระธรรมทูตสัญจร อ.ป.ต.สัญจร พบประชาชนโครงการหมู่บ้านรักษาศีลห้า เป็นต้น 4. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดี, ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น) ถือได้ว่าเป็นการเสริมสร้างคุณความดี จากการประพฤติปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องนั้น นับได้ว่าเป็นทุนเดินของสังคมที่ได้สั่งสมความดีมาก่อน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ส่งคมในตำบลต้นธงมีความเข้มแข็งสงบสุข ตามแบบของชุมชน สังคมวิถีพุทธ

     The purposes of this study, entitled “The Development of Community-Based Strengthening Process with Emphasis on the Dhramic Principles in Ban Ton Sub-district, Muang District, Lamphun Province”, aimed to investigate the people’ s community contexts in Ton Thong Municipality, and its community-based strengthening process, as well as to analyze the community-based strengthening process of  Ton Thong Municipality in Muang district, Lamphun province.

              The findings of the study, according to the TERM theoretical concept used for this study, revealed that 1) In terms of technology (T), the requirement for technological applications should be facilitated for citizens’ public services; 2) In terms of the economic aspects (E), the community residents’ adequate numbers of food supplies and their no debts were both resulted in their better life-living; 3) Resource Human resources are considered the most important to the development of the various manpower development needs to continue to improve the management, and 4) Mental mentality, the strength of the community, the beginning of the mind is important. If the people have weak hearts,  they were not strong. Was defeated to life problems.

              In addition, the process of strengthening the Buddha Dharma 4 has been developed. (Dharma leads the way to prosperity. As a wheel to drive to the main engine, 4 is applied for the strength of the community, namely, 4, namely 1. Reform Tashasa (In good place The environment is suitable. The territory is very comfortable. Facilitate many aspects. 2. Satipatthaya (Association with the faithful) is to encourage people to have a dialogue. Relate to other people who are good people are friendly. In the beginning of the banner, there are many Dharma training projects for the people, such as the Dharma Dhamma Dhamma Pass. Treat the five precepts. (Being a good person first, having a good background, having created a good attitude, being prepared for the beginning) can be considered to enhance goodness. By continuing to behave. It is the capital of the society that has accumulated good. It is the part that makes sharp deliveries in the flagship district is strong and peaceful. By the community Buddhist Buddhist Society


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.