กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงกับการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง CHANGE MANAGENT PROCESS AND ACCEPTANCE OF SUFFICIENCY ECONOMY OHILOSOPHY OF COMMUNITY ENTERPRISE GROUPS, MUEANG PAN DISTRICT, LAMPANG PRO

Thanakorn Sirisugandha

Abstract


     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ประกอบด้วย จำนวนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งใช้วิธีการสนทนากลุ่ม การสังเกตภาคสนามของผู้วิจัยและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม

              ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจชุมชนประเภทอาหาร มีระดับความรู้ในภาพเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง การยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยมีแนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไปยังสมาชิกของกลุ่ม ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม เน้นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าในการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชนเป็นพื้นฐานศักยภาพของกลุ่ม มุ่งเน้นการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรก เมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้วจึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมาและให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงและการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

     The objective of this research focuses on exploring the levels of self-perception and acceptance of sufficiency economy philosophy organized by community enterprise groups. A questionnaire and an in-depth interview were both conducted with 71 qualified community enterprise groups. The data were statistically analyzed using frequency distribution, percentage, mean, and standard deviations. Also, a focus group, and a participatory field observation were carried out for data analysis.

              The findings revealed that female married informants with their age of 41-50 earned a lower secondary education level, running their food production. In addition, their self-perception on the philosophy of sufficiency economy was rated at a moderate level whereas their acceptance of sufficiency economy philosophy was rated at a higher level. Also, the guidelines for effective change management of community enterprise groups implicated for their acceptance of sufficiency economy philosophy were suggested that the provisions for the enhancement of their information services via different social media should be required for other members’ self-perception. Not only was their local wisdom-inheriting with emphasis on the advanced philosophy of sufficiency economy supported for their community enterprise groups’ self-potentialities, but also their food production should be mostly required for the families’ consumption and trading purposes. Lastly, the importance of their community enterprise groups’ knowledge- sharing on their effective change management and the implication of sufficiency economy philosophy should be also supported.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.