การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง THE DEVELOPMENT OF PARTICIPATORY COMMUNITIES’ AGRO-TOURISM STRATEGIES BASED ON THE PHILOSOCHY OF SUFFICENCY ECONOMY IN LAMPANG PROVINCE

Silawat Chaiwong

Abstract


    รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง 2. เพื่อศึกษาการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และปริมาณ (Quantitative Research ) โดยผู้วิจัยเลือกพื้นที่บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนประกอบอาชีพหลัก ด้านเกษตรกรรม เพาะปลูกพืชเมืองหนาว เช่น กาแฟพันธุ์อาราบิก้า แมคคาดีเมีย (Macadamia) ลูกพลับ บ๊วย ชา เสาวรส  ต้นโสม สมุนไพร สาหร่าย และได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวงเข้ามาให้ความรู้ด้านการเกษตร เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นและมีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชฤดูหนาว

              จากการศึกษาในด้านสภาพบริบททางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยพิจารณาถึงด้านการเข้าถึง โดยพบว่ามีเส้นทางที่อำนวยความสะดวกให้สามารถเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ และมีป้ายบอกทางตามเส้นทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ชุมชนยังได้มีรางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชม สามารถนำมาพัฒนาเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว รวมถึงผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นของฝากของที่ระลึก และกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

              สำหรับการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมจากการศึกษาด้านสภาพการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลการศึกษาทำให้สามารถพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ 2 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง

    The purposes of this study, entitled “The Development of Participatory Communities’ Agro-Tourism Strategies Based on the Philosophy of Sufficiency Economy in Lampang Province”, aimed to investigate the situations and the development of the participatory communities’ agro-tourism based on the philosophy of sufficiency economy in Lampang Province. This study focused on both the qualitative and quantitative researches. For research methodology, Mae Chaem village, Muang Pan District, Lampang Province was used as the targeted area, which was covered with different agro-tourism sites with emphasis on the philosophy of sufficiency economy. In addition, planting crops with its good climates such as Arabica coffee, macadamia, persimmons, peaches, teas, passion fruits, ginsengs, herbs, weeds, etc. was mostly found in terms of the villagers’ main occupation and the royal project’s academic trainings were supported.   

 

                   According to the accessibility of agro-tourism contexts, it showed that not only were tourist routes with its tourist signs facilitated, but also the villagers’ awards were guaranteed for such a village’s tourist attractions. Local products were mainly used as souvenirs, and interesting tourism activities were also provided for tourists’ travelling purposes.    

                   Regarding to the investigation of agro-tourism situations, it showed that the participatory communities’ agro-tourism based on the philosophy of sufficiency economy was divided into two major strategies: 1) Strategies for agro-tourism cooperation based on the philosophy of sufficiency economy in Lampang Province, and 2) Strategies for the development of agro-tourism facilities based on on the philosophy of sufficiency economy in Lampang Province.  


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.