ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านโนนสะอาด ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น THE SATISFACTION OF THE MEMBERS TOWARDS VILLAGE AND COMMUNITY FUND ADMINISTRATION: A CASE STUDY BAN NONSA-

Sitthiporn Phra , Worachat Khetjoi , Thasa

Abstract


    งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 6 ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 6 ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชากร 103 คน ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชน นำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

                   ผลการวิจัยพบว่า

                   1. ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 103 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.25 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 41.75 อายุ 51 ปีขึ้นไป ร้อยละ 38.83 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 34.95 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 22.33 และอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 3.88 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 76.70 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 11.65 และประกอบอาชีพอิสระ ร้อยละ 11.65 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 72.82  มัธยมศึกษาร้อยละ 26.21 และจบการศึกษาระดับชั้นอนุปริญญา ร้อยละ 0.97

              2. ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยภาพรวมสมาชิกมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวางแผน ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และด้านการประเมินการใช้เงินกองทุน สมาชิกมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมของสมาชิกมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับน้อย

              3. ข้อเสนอแนะแนวทางที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีดังนี้ 1) ด้านการวางแผน มีการวางแผนแก้ไขปัญหาช้าเกินไปและไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้ การชำระเงินคืนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านล่าช้า คณะกรรมการไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเงินกู้แก่สมาชิก ดังนั้น เจ้าหน้ากองทุนควรปฏิบัติตามแผนและมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการให้กู้ยืมและการชำระเงินหรือเงินปันผลที่รวดเร็ว 2) ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน คณะกรรมการไม่มีการแบ่งงานซึ่งหนักอยู่ที่ตัวประธานเพียงคนเดียว และคณะกรรมการไม่มีความรู้ซึ่งจะนำมาปฏิบัติงาน

              4. ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก สมาชิกนำเงินไปใช้ไม่ตรงวัตถุประสงค์ และไม่ส่งเงินคืนกองทุนหมู่บ้านทำให้เกิดปัญหา สมาชิกไม่มีส่วนร่วมในร่วมการประชุม ดังนั้น ควรมีการประชุมทำความเข้าใจในแผนงานและวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อให้ สมาชิกนำเงินไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

              5. ด้านการประเมินการใช้กองทุน สมาชิกจากการประเมินมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น และไม่จ่ายเงินตามกำหนด คณะกรรมการมีการดำเนินงานไม่เป็นระบบและไม่สามารถปิดงบดุลในแต่ละปีได้

   The purposes of this study were (1) to study the village fund members’ and the community fund members’ personal factors, and their satisfactions towards village and community fund administrations in Non Sa-art village, Moo. 6, Pa Wai Nung sub-district, Ban Fang district, Khonkaen province, as well as obstacles and suggestions on village and community fund administrations in Non Sa-art village, Moo. 6, Pa Wai Nung sub-district, Ban Fang district, Khon Kaen province. For research methodology, a questionnaire was conducted with 103 members of village and community funds. The data were statistically analyzed using percentage, mean, and standard deviation.       The findings of the study were as follows:  

           1. There were 103 informants found in this study. Female informants with 58.25 % and male informants with 41.75 % were mostly observed. In addition, their age of up to 51, 41-45, 31-34, and 20-30 were respectively rated at 38.83%, 34.95 %, 22.33 %, and 3.88 %. The majorities of occupation were farmers (76.60%), shop owners (11.65 %), and freelance employees (11.65 %). In terms of their educational backgrounds, most of them earned a primary education diploma (72.82%), a secondary education diploma (26.21%), and a pre-degree certificate (0.97%);   

            2. Their satisfactions towards the organizational of village and community funds was rated at moderate level in terms of their planning, followed by their performance effectiveness, assessing financial management reports, and their participation;

           3. Guidelines for the effective management of village and community funds were suggested that in terms of their planning, both working plans and their members’ loan reimbursement should be well-planed so that the village and community fund officials’ well-organized working plans and regulations for the members’ loans, loan reimbursement, and beneficiaries should be set up. Moreover, the provisions for the enhancement of the village and community fund committee’s decentralized organizational administration, as well as their academic understandings of effective fund management should be all required in terms of their performance effectiveness;

            4. In terms of their members’ participation, it was stated that not only their members’ improper loan purposes, but also their no meetings were mostly found. In order to meet the requirements of loans, however, the members’ deeper understandings of their loan should be supported, and 

            5. In terms of assessing financial management reports, it was also stated that the outnumbers of members’ extravagant debts with their no loan reimbursement together with the village and community funds’ no well-organized loan management and incomplete balance sheet reports were mostly found.   

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.