ข้อเสนอใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในมุมมองของรัฐ: บทวิพากษ์โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง THE NEW STATE’S PROPOSALS ON INDUSTRIAL DEVELOPMENT IN EASTERN SEABOARD AREA: A CRITIQUE OF POLITIC

Jirayoot Seemung

Abstract


   ภายหลังการใช้แผนพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในปี 2524 ส่งผลให้ภาคตะวันออกกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับประเทศสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ตลอดช่วงเวลาของพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกแม้ว่าด้านหนึ่งจะสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้พื้นที่อย่างมากแต่ในทางกลับกันก็ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่ข้อเสนอต่าง ๆ ของรัฐในการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนารวมถึงการแก้ไขปัญหาผลกระทบ ซึ่งข้อเสนอการพัฒนาอุตสาหกรรมชุดใหม่ภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก นั้นพบว่ารัฐยังคงต้องการให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไปภายใต้ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพของยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม นอกจากนี้รัฐยังมีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่ตามมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการปิดจุดอ่อนของแผนพัฒนาที่ผ่านมาแต่อย่างไรก็ตามข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงส่วนประกอบของการพัฒนาอุตสาหกรรมเท่านั้นเนื่องจากข้อเสนอการพัฒนาชุดใหม่นี้ยังคงเป็นข้อเสนอการพัฒนาที่มาจากส่วนกลางและขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ซ้ำร้ายยังเป็นการผลิตซ้ำปัญหาเหมือนเช่นดังที่เคยเกิดขึ้น

   After launching “The industrial development plan” in 1981, Eastern area of Thailand has become a strategic area of domestic economic development (relating to the National Growth Strategy-NGS) which aims to promote Thailand to be an industrial country. During the processes of development, advantages and problems (especially social and environmental problems) have always been occurred leading the decision of state on dealing with those effects by launching several states’ adjustment plans. Obviously, following the NGS, the recent plan keeps focusing on industrial improvement but there are some points in this version that present the state’s objectives on solving effects of industrial development and sealing some weaken points from the previous version. However, such an idea is not recognized as importance since the origin of recent recommendation is center base and also lack of participation from local stakeholders. By these reasons, the state’s proposal is still unable to resolve side effects of development and sometime repeat itself with problems as the past.    


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.