การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาที่ตอบสนองต่อชุมชนและสืบทอดบุคลากรทางพุทธศาสนา
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ที่ตอบสนองต่อชุมชนและสืบทอดบุคลากรทางพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาที่สามารถจัดการศึกษาตอบสนองต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาได้อย่างมีประสิทธิผลและ (2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขข้อกำจัดในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพถอดบทเรียนการดำเนินงานโรงเรียนปริยัติสารคุณ จำนวน 4 แห่ง ประกอบไปด้วย โรงเรียนพระปริยัติธรรมบาลีสาธิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โรงเรียนปริยัติธรรมวัดกองลม ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ โรงเรียนปริยัติธรรมวัดหนองบัว ต.เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ โรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสตร์ ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่แล้วมาวิเคราะห์ข้อมูลมีผลการวิจัยดังนี้
1.รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า มีการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับหลักสูตรทางพุทธศาสนา โดยให้นักเรียนมีการกระบวนการปฏิบัติการจริงในชุมชน ใช้สื่อท้องถิ่นในการเรียนรู้ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาและเป็นฐานระดมทรัพยากร
2.เป้าหมายของการจัดการศึกษา พบว่าโรงเรียนปริยัติธรรมทั้ง4 แห่งมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี อยู่ในศีลคุณธรรม มากกว่าการแข่งขันทางวิชาการ เพราะนักเรียนที่เข้าบวชเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีปัญหาทางครอบครัว บางรูปไม่สามารรถอ่านออกเขียนได้ จึงทำให้มีการจัดการศึกษาตามลักษณะของเด็ก เน้นการสามารถช่วยตนเองและอยู่ในสังคม และพุทธศาสนาได้
3.การระดมทุนและทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษา พบว่าแต่ละโรงเรียนแต่ละแห่งต่างมีแนวทางการระดมทุนจากข้างนอกในลักษณะของการบริจาค จัดโครงการหรือกิจกรรมตามวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จัดผ้าป่าสามัคคีจากศิษย์เก่า นอกจากนี้ยังพบว่า ชุมชนที่อยู่รอบบริเวณวัดยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนทุนและทรัพยากรทางการศึกษา เช่น สนับสนุนข้าปลา อาหาร ครูสอน เป็นต้น
4.ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาในโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ พบว่ามี 4 ประการ กล่าวคือ (1) วิสัยทัศน์ของผู้บริหารต่อการจัดการศึกษา (2) งบประมาณสนับสนุนการจัดการศึกษา ซึ่งนับได้ว่ายังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (3) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา (4) ครูและบุคคลลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ปัจจัยทั้ง 4 ประการที่กล่าวนั้น ถือว่ามีส่วนสำคัญทำให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์
คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการศึกษา, พระปริยัติธรรม,การตอบสนอง,การสืบทอด,บุคลากรทางพุทธศาสนา
ABSTRACT
This educational research is about educational management model, Buddhist Scripture, General Education Department that responds to the community and inherits Buddhist personnel ,there are 2 objectives: (1) To study the educational management model of the Buddhist Scripture School, the general education department that can effectively manage education, respond to the community and Buddhism, and (2) To study the elimination conditions in providing education with students in the Buddhist Scripture School PariyattiDhamma School)Department of General Education
This study is a qualitative research, removing 4 lessons of PrayatSarnkhana School's operation, consisting of PhraPiyathitDhamma School Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chiang Mai Campus, Prayatthamma School, Wat Kong LomSubdistrict, MuangHaengSubdistrict, WiangHaeng District, Chiang Mai Province, Pariyattham School, NongBua Temple, ChediSubdistrict, Wiang Pa Pao District, Chiang Rai Province and DoiSaketPhadungsat School, ChoengDoiSubdistrict, DoiSaket District, Chiang Mai Province Research as follows
1.The teaching and learning model found that teaching and learning was organized by taking students as a center. Integration of the curriculum of the Ministry of Education together with the Buddhist curriculum by allowing students to have real operational processes in the community, use local media to learn create a process of participation with the community, both the wisdom and the resource mobilization base.
2. The goal of education management found that all 4 Buddhist schools have a goal to make students be good person in the moral precepts more than academic competition, because most of the students who are ordained are poor ,they have family problems some images cannot be read and written. Therefore making education according to the characteristics of children that focus on being able to help themselves and be in society and Buddhism.
3. Funding and resources to manage education found that each school has different funding methods from outside in the form of donations Organize projects or activities according to Buddhist important dates such as organizing a summer novice ordination project. Arrange a rapport from alumni in addition, it was found that the communities around the temple area are also important in supporting scholarships and educational resources, such as supporting fish, food, teachers, etc.
4. The important factors that influence the efficiency of educational management in the ordinary department of Buddhist Scripture School found that there are 4 factors, namely (1) the vision of the administrators on educational management (2) budget for educational management which is still not enough to improve the quality of education (3) an environment that is conducive to educational management (4) teachers and individuals who are responsible for managing learning for students. Considered to be an important factor in the achievement of educational objectives.
Keywords:education management,phrapariyattidhamma, response, succession,Buddhist personnel
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.