การตีความภาพพุทธศิลป์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณของจังหวัดลำปาง

พระครู สังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน, พระ พิษณุพล สุวณฺณรูโป, ภัทรเดช ปัณชยาธนาดุล

Abstract


บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเรื่อง การตีความภาพพุทธศิลป์ที่ปรากฎในเอกสารโบราณของจังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เพื่อศึกษาการตีความภาพพุทธศิลป์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณของจังหวัดลำปาง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยผู้วิจัยจะทำการสนทนากลุ่ม (Focus Group) คือ ปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญในเรื่องภาพพุทธศิลป์ และนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

จากการศึกษา พบว่า ศิลปะกับศาสนาเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์คู่กันมานับตั้งแต่โบราณกาล เพราะศิลปะมักถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ศาสนาไปยังศาสนิกชนหรือสร้างเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของศาสนา และอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นบ่อเกิดของศิลปะอันวิจิตร เมื่อมนุษย์มีความศรัทธาในศาสนา ก็จะทุ่มเทอุทิศตนเพื่อสร้างสรรค์ สิ่งที่ดีงามให้บังเกิดขึ้นแก่ศาสนาที่ตนเองนับถือ โดยเนื้อหาหรือเป้าหมายของศาสนศิลป์มุ่งเน้นที่ความดีงามและความสวยงาม และเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ปรัชญาของแต่ละศาสนา

สำหรับสังคมในจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นสังคมแห่งพระพุทธศาสนา มีรากฐานต่างๆ ทั้งความคิด ความเชื่อ ประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม มาจากพระพุทธศาสนา ศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจึงมีมากมายในจังหวัดลำปางไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน เช่น วัด อุโบสถ เจดีย์ วิหาร หรือ ศาสนวัตถุ เช่น พระพุทธรูป ตู้พระธรรม ธรรมมาสน์ เอกสารโบราณ แม้กระทั่งภาพวาดหรือจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งศิลปกรรมเหล่านี้ถูกเรียกว่าพุทธศิลป์ การรับรู้ของประชาชนในทางศิลปะ เป็นการสัมผัสจากอวัยวะต่างๆ ที่ใช้ในการรับรู้ ตีความหมายออกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าการรับรู้นั้นจะเกิดจากประสาทส่วนใด หรือการรับรู้นั้นจะเกิดขึ้นเวลาใด การตีความหมายสำหรับการรับสัมผัสหรือการรับรู้นั้นมีจุดหมายเพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่ได้รับรู้นั้นคืออะไร มีความหมายอย่างไร และการตีความหมายได้นั้น ผู้รับสัมผัสหรือผู้รับรู้นั้นจะต้องมีประสบการณ์ในสิ่งนั้นๆ มาก่อน หากผู้รับสัมผัสหรือรับรู้ไม่มีประสบการณ์ในสิ่งนั้นๆ มาก่อน การตีความหมายก็คงจะทำไม่ได้หรือหากทำไปก็จะเกิดความผิดพลาด ฉะนั้น ประสบการณ์การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งต่อกระบวนการรับรู้หรือสัมผัสด้วย

 คำสำคัญ: การตีความ, ภาพพุทธศิลป์, เอกสารโบราณ

 

ABSTRACT

This purpose of this research, Interpretation of Buddha art pictures in ancient literature of Lampang province, is to study Interpretation of Buddha art pictures in ancient literature of Lampang province. This research is Qualitative Research. The Focus Group of this research was the philosophers who experienced in Buddha art pictures and the students of Mahachulalongkornrajavidtayalai University, Lampang Buddhist College.

The study revealed that arts and religion have been related since an ancient times, because art was often established for communicating to propagate religion to religion follower or created to be the symbol of religion. It can be said that religion is the cause of exquisite art. When human believe in the religion, they will devote themselves to create good thing for their religion. Contents and targets of art religion purposes for goodness, niceness and to be an instrument for propagating the philosophy of each of religion.

For Lampang society, it is Buddhism society and has the foundations such as belief, thought, tradition, art and culture from Buddhism. So, Lampang has a lot of art objects which involve with Buddhism whether it be religious place such as temple, ubosot, chedi, cathedral or religious objects such as statue of Buddha, Dhamma book chest, Pulpit, ancient literature even if picture or painting of Buddhism. These art objects was called as Buddha art perception of people, it is the touch from any organwhich was used for perceptionand interpretation, no matter what nervecreate the perception or what is that perception and what that perception mean. For interpreting, recipients must have an experience for that matter before. If recipients didn’t have an experience for that matter, they may couldn’t to interpret or even though then did it, it could be errors. Therefore, the experience for learning any matter is one of the factors for touch and perception process.

 Keywords:The interpretation, buddhist art pictures, ancient literature


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.