การจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์

วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ และคณะ

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์2. เพื่อศึกษาคุณค่าและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์และ 3. เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการของการจัดการเส้นทางการท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาทั้งเชิงเอกสาร และมีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 รูป / คน

ผลการวิจัย พบว่า1. สำรวจแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ จำนวน 14 วัด แบ่งเป็นพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 10 วัด จังหวัดเชียงราย 10 วัด ในปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษาอยู่ 12 วัด และเป็นวัดร้างอยู่ 2วัด คือ วัดอาทิต้นแก้ว และวัดป่าแดงหลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

2. คุณค่าและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์พบว่า คุณค่าแหล่งท่องเที่ยวสามารถแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) คุณค่าทางประวัติศาสตร์ 2) คุณค่าทางโบราณสถาน 3) คุณค่าทางความศักดิ์สิทธิ์ และ 4) คุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณี ส่วนศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านการดึงดูดใจการท่องเที่ยว 2) ด้านการรองรับนักท่องเที่ยว และ 3) ด้านการบริหารจัดการ

3. เสนอรูปแบบและวิธีการของการจัดการเส้นทางการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ 4 รูปแบบ คือ 1) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และพุทธศิลปกรรม ประกอบด้วยทุกวัด 2) การท่องเที่ยวเชิงการปฏิบัติธรรม 1 วัด คือ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)3) การท่อเที่ยวเชิงความศักดิ์สิทธิ์ 5 วัด คือ วัดสวนดอก วัดเชียงยืน วัดชัยศรีภูมิ์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และวัดนันทาราม และ 4) การท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรมและงานประจำปี จำนวน 9 วัด คือ 1) วัดสวนดอก พระอารามหลวง2)วัดศรีมุงเมือง 3) วัดป่าแดงมหาวิหาร 4) วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง 5)วัดนันทาราม6) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร พระอารามหลวง 7) วัดเชียงยืน 8) วัดพระแก้ว พระอารามหลวง 9) วัดพระสิงห์ พระอารามหลวง

 คำสำคัญ:การจัดการ แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน ล้านนา วรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์

 

ABSTRACT

These objectives of the research are; 1.To survey the Lanna historic sites that appear in The literature of Chinnakanmalipakorn, 2. To study the value and potentiality of Lanna historic sites that appear in The literature of Chinnakanmalipakorn, and 3. To propose patterns and methods of learning managing pathways of Lanna historic sitesthat appear in The literature of Chinnakanmalipakorn.  This is a qualitative research that researcher studied through both document and interview 14 key informants.

The result was found that;1.The Explore Lanna Historic Sites that appear in The literature of Chinnakanmalipakorn, there are 10 temples in Chiang Mai area and 10 temples in Chiang Rai , but now there are monks and novices in 12 temples, 2 deserted temples no monks nor novices in WatArthi Ton Keaw and Wat Pa DeangLuang in Chiang Sean district, Chiang Rai province.

            2. The value and potentiality of the Lanna historic sites that appear in The literature of Chinnakanmalipakorn is found that; tourist value divided into 4 sides 1. historical value, 2. archeological sites value,3. sacredness value, and 4. cultural and tradition value The potential of tourism divided as 1. tourist attraction, 2. tourist accommodating, and 3. tourist management.

3.  Offer layout styles and methods of route management of Lanna historic sites that appear in the literature of Chinnakanmalipakorn as follows; 1. all 14 temples with historical and Buddhist Art tourist attraction, 2. one temple with the Dhamma practice tourist attraction, WatRampoeng(Tapotharam), 3. five temples with sacred tourist attraction, WatSuan Dork, Wat Chiang Yuen, Wat Chai Sri Phoom, WatChediLuangWorawihan and WatNantharam, and 4.nine temples with cultural, tradition and annual fair tourist attraction, WatSuan Dork(the royal monastery), Wat Sri MungMuang, Wat Pa DeangMahawihan, WatChedYod(the royal monastery), WatNantharam, WatChediLuangWorawihan(the royal monastery), Wat Chiang Yuen, WatPhraKeaw(the royal monastery) and WatPhra Sing(the royal monastery)

 Keywords: Management, Tourist site, Archeological site, Lanna, Chinnakanmalipakorn


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.