การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, จีระศักดิ์ ปันลำ, อาภากร ปัญโญ

Abstract


บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนเป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพวัดและชุมชน คือ 1) การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาศักยภาพด้านการเมืองในการบริหารจัดการของวัดและชุมชน 3) การพัฒนาศักยภาพทางด้านสังคมที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม จารีต ขนบธรรมเนียมและประเพณี 4) การพัฒนาศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักคุณค่าและอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี เป็นการสร้างรายได้แก่ชุมชม และเผยแพร่คุณค่า เอกลักษณ์ของชุมชนให้ประจักษ์แก่สาธารชนได้รับรู้และเรียนรู้ นอกจากนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนาเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้/วิถีชีวิตชุมชนดีขึ้น และเป็นการตอบสนองความต้องการชุมชนในการฟื้นฟูความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของวัดและชุมชนในล้านนา ดังนี้ 1) ทรัพยากรการพัฒนาศักยภาพของวัดและชุมชนในล้านนานั้นจะต้องมีแหล่งท่องเที่ยวต่างที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ความงดงาม/ภูมิทัศน์การอนุรักษ์และการบริการ/ความสะดวก/ความปลอดภัย2) บริหารคนบุคลากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ประกอบด้วย บุคลากรความรู้ จิตอาสาและระเบียบวินัย/ข้อบังคับ3) การจัดการเป็นการดำเนินงานหรือปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ ในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนดำเนินไปตามแผนที่วางไว้และแนวทางที่จะไปถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษาพบว่าการพัฒนาศักยภาพวัดและชุมชนจะต้องมีการดำเนินตามขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนา4) กิจกรรมเชิงพุทธการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักทางพระพุทธศาสนาผ่านกิจกรรมเชิงพุทธ ด้านความเชื่อดั้งเดิมที่หล่อหลอมคุณค่าทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของวัดและชุมชน ได้แก่  ความเชื่อวิถีชีวิตชุมชนวัฒนธรรม/ประเพณีกิจกรรมพุทธวิถี 

การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่นและเผยแพร่คุณค่าของภูมิปัญญาของชุมชน โดยเริ่มจากการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในชุมชน การจัดการคนในชุมชน การบริหารจัดการและกิจกรรมเชิงพุทธเพื่อให้เป็นการพัฒนาศักยภาพที่ยั่งยืนและส่งเสริม สนับสนุนคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี แบบแผนดั้งเดิมของชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อชุมชนและนักท่องเที่ยวให้เกิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 คำสำคัญการพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยว, วัดและชุมชม

 

ABSTRACT

The purposes of this research are: 1) To study the tourist management of temple and community in Lanna 2) To study the tourist efficiency development of temple and community in Lanna 3) An analyze the tourist efficiency development of temple and community in Lanna.  This Research is used the quantitative and qualitative Method. The sampling researching are used 400 populations of sampling and in depth interview the master of sangha, sangha, community Involving organization Thai tourist and foreign tourist for analyzing the tourist efficiency development of temple and community in Lanna. The result of study is found that:The tourist efficiency development of temple and community in Lanna is responded to community and tourist need. There are the ways to tourist efficiency development of temple and community as 1) the tourist efficiency development on conservation the natural resource 2) the tourist efficiency development on political management of temple and community 3) the tourist efficiency development on social relationship of culture, custom and tradition 4) the tourist efficiency development on economic that to be enhance for getting knowledge, conservation on environment, arts, cultures, customs and traditions, making money and disseminate unique values to public to know and learn.

Moreover, the result of study found that the tourist efficiency development of temple and community in Lanna is getting knowledge, promoting local culture and wisdom for enhancing and making money or getting up community life and responding the community need on revitalizing knowledge of art, culture, lifestyle, community and participation of related agencies that impacts to the tourist efficiency development of temple and community in Lanna as; 1) Resources: the development of temples and communities in Lanna have to be attractive tourist attractions such as history, the beautiful scenery, conservation and service/convenience/ safety 2) Personal Management: people’s community is an important factor for efficiency tourist development as including personnel, knowledge, volunteerism and discipline/regulation 3) Management: the operation or performance to achieve the objectives that is been set out in the guidelines for efficiency tourist development of temple and community; it is planned and the way to reach the goal accurately. As the study found that, the efficiency tourist development has the process as planning, identity and identity planning and development Strategies 4) Buddhist Activities: the Buddhist sustainable development through on Buddhist activities as the original traditional faith that creates the Local art, culture, customs and traditions in temples and communities namely faithfulness, lifestyle, community’s life,  Culture/tradition and Buddhist activities.

Thetourist efficiency development of temple and community is the Article conservation, culture, custom and local tradition. It can disseminate the values of the community wisdom as beginning on the available tourist resources in community, the personal’s community management, the administration and Buddhist activities for sustainable development, enhancing and  encourage cultural values, traditions and customs of the community as a source of learning and better understanding the community and tourists to be more effective.

Keywords: efficiency development, Tourism, Temple and Community

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.