การบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมเพื่อบูรณาการพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมและเพื่อวิเคราะห์แนวทางการประยุกต์ใช้พุทธจิตวิทยาบูรณาการในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมโดยผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ครอบครัวในพื้นที่ ผู้นำชุมชนรวมถึงการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัว ซึ่งผู้วิจัยจะทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) จำนวน 24 คน ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันตกเพื่อหาลักษณะร่วม (Common Character) และข้อสรุปร่วม (Common Conclusion) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) แนวทางการบูรณาการหลักพุทธจิตวิทยากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม
ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญของการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมที่ประกอบไปด้วยภูมิปัญญาด้านการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อม ด้านคติความเชื่อและศาสนาด้านวัฒนธรรมประเพณีด้านการจัดเครือข่ายระบบความสัมพันธ์และด้านสุขภาวะภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้สามารถบูรณาการกับหลักพุทธธรรมหรือการบูรณาการพุทธจิตวิทยาที่ก่อให้เกิดคุณค่าและความดีงามในการดำรงชีวิตและวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมได้อย่างสมดุลซึ่งนำไปสู่แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาภายใต้ปัจจัยและเงื่อนไขทางสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยหลักไตรสิกขาที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างคนในครอบครัวและสังคมให้มีสุขภาวะหลักอริยมรรคที่มุ่งเน้นให้ก่อเกิดความประพฤติโดยชอบในการดำรงชีพหลักสังคหวัตถุที่มุ่งเน้นให้มีส่วนร่วมและความมีจิตอาสาในการเสริมสร้างสุขภาวะและหลักอริยสัจที่มุ่งเน้นให้ครอบครัวและสังคมรู้เท่าทันในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ กายภาวนาความมีสุขภาพที่แข็งแรง การดูแลป้องกันโรคภัยไขเจ็บ จิตตภาวนาความมีจิตใจสงบสุข สีลภาวนาความดำรงชีพโดยชอบ และปัญญาภาวนาความรู้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้นและสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมต่อไป
คำสำคัญ: สุขภาวะ, พุทธจิตวิทยา,บูรณาการ
ABSTRACT
The purposes of this study were to study the local wisdom in promoting the holistic health of the family and society, and to integrate the Buddhist Psychology with the local wisdom in promoting holistic well-being, also analyze the application guideline of Buddhist Psychology in integrating holistic health and family and society. The researcher used a qualitative research model by using structured in-depth interview, consisting of interviews, families in community of leadership areas with non-participant observations in strengthening the family security. Also the researcher conducted a random sampling of 24 participants in the area of the prototype community in all four sectors, namely, Northern, Northeastern, Central region and Western in order to find the common character, the common conclusion and Focus Group Discussion of the approach to integrate Buddhist Psychology and local wisdom in promoting holistic well-being of family and society.
The research found that the local wisdom was an important factor in promoting the holistic health of the family and society, including the wisdom of living by the environment, beliefs and religion, culture and tradition, networking, relationship system and health These local wisdoms can be integrated with Buddhist principles or the integration of Buddhist Psychology. That had gotten the values and goodness of living and the community way of living in harmony with nature and the environment. That led to the application of Buddhist Psychology under social factors and conditions to be conformed to the context and local wisdom, including the principles of threefold training that focused on strengthening family and society for having well-being, the principles of eightfold noble paths focused on getting good behavior in living, the principles of Sanggahavatthu focused on participation and public mind in strengthening health and the principle of four noble truths focused on family and society were known the situations to lead the promotion of health according to the principles of 4 Bhãvanã, namely KãyaBhãvanã meant having healthy and disease prevention, CittaBhãvanãmeanthaving peaceful mind, SîlaBhãvanã meant livelihood and PaññãBhãvanã meant knowing and what was happening and be able to integrate local wisdom with Buddhist Psychology, to go on promote the holistic health conditions of the family and society.
Keywords: happiness, Buddhist psychology, integration
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.