การใช้กิจกรรมการพูดเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ ของนิสิตบรรพชิตคณะมนุษยศาสตร์ปี1–4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการพูดเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตบรรพชิตภายในคณะมนุษยศาสตร์ชั้นปีที่ 1– ชั้นปีที่ 4 ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา จำนวน 35 รูป ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 16 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการพูดเพื่อการสื่อสาร จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังการทดลอง แบบประเมินตนเองด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร แบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ที่แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent samples) และ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป SPSS
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการพูด เพื่อการสื่อสารของกสุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์จากแบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและแบบ ประเมินตนเองด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
คำสำคัญ:การพูดเพื่อการสื่อสาร,ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ
ABSTRACT
The purpose of this study was to enhance communicative English speaking ability of Students Faculty of Humanities Year 1–Year 4 by using oral communicative activities. The subjects were 35 Monks(English Program) at Mahachulalongkornrajavityalaya University Nakhonratchasima Campus. The experiment was carried out for 16 hours in the second semester of the 2018 academic year. The instruments used in this study were 6 lesson plans on oral communicative activities, pre-post tests of communicative English speaking, the students self-assessment form and observation form. The data were statistically analyzed by mean scores, percentage, standard deviation and t-test for dependent samples.
Findings of this study indicated that after using oral communicative activities there was a significant increase in the students’ communicative English speaking ability at .01 level. This result is supported by the analysis from the students’ self-assessment form and observation form.
Keywords: Speaking for communication, English speaking ability
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.