ธาตุ: ความหมายในพระพุทธศาสนาเถรวาท

พระครู ไพโรจน์คีรีรักษ์(ธรรมอัน)

Abstract


บทคัดย่อ

คำว่า “ธาตุ” มีความหมายหลายประการ ไม่อาจจำกัดลงเพียงความหายใดความหมายหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่า จะมองผ่านกรอบแนวคิดใด ตามความหมายของรากศัพท์ในภาษาบาลี “ธาตุ” หมายถึง “สิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้” ตามความหมายทางวิทยาศาสตร์ “ธาตุ แปลมาจากคำว่า “Element”หมายถึง “สสารที่ไม่สามารถทำให้แตกย่อยเป็นสสารอื่นที่เล็กลงโดยวิธีการทางเคมีหรือทางกายภาพได้อีก ได้แก่ อะตอม” ดังนั้น ในทางพระพุทธศาสนา “ธาตุ” จึงครอบคุลมสิ่งทั้งที่เป็นรูปธรรม(สสาร) และนามธรรม(จิตใจ) ขณะที่วิทยาศาสตร์ มุ่งเพียงสิ่งที่เป็นรูปธรรม(สสาร) ความสำคัญของธาตุได้แก่ความเป็นมูลเหตุทำให้เกิดโลก จักรวาล เอกภพและสิ่งที่มีชีวิตการศึกษาเรื่องธาตุในพระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่า ธาตุเป็นพื้นฐานสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ธาตุเป็นความจริงทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม เป็นความจริงทั้งทางด้านจิตและสสารธาตุเป็นสัมพันธภาพดั้งเดิมที่มนุษย์มีต่อกัน เมื่อเข้าใจปรากฏการณ์ของธาตุทั้งภายนอกและภายในทำให้เกิดมุมมองต่อโลกและชีวิตว่าสิ่งทั้งหลายล้วนต้องอิงอาศัยกัน (ปฏิจจสมุปบาท) ธาตุในพระพุทธศาสนาเถรวาทมีความหมายสอดคล้องบางประการกับแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ ประการสุดท้าย ธาตุมีคุณค่าใน 2 ระดับคือคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม

 คำสำคัญ: ธาตุ, ความหมาย, พระพุทธศาสนาเถรวาท

 

ABSTRACT

The word “Dhãtu” contains many meanings. It could not be limited only in one definition.It depends upon what concepts will bebased on. Through the meaning of word in Pali, “Dhãtu” means "what that exists onitself condition", whilein the scientific concept, “Dhãtu” is translated from the word “Element” that means"the substance that cannot be divided or reduced into another smaller substance by the chemical or physical method. It is atom." Hence, in Buddhism, “Dhãtu” covers the whole concrete things (the material substance) and the abstract one (the immaterial substance or mind). Whereas the scientific concept has focused only on the concrete things (the material substances.The significance of “Dhãtu” is as the original cause of the world, the universe, the cosmos and the living things. The study of Dhãtus in Theravada Buddhism is found that Dhãtus are the core basis for living and non-living things. “Dhãtu” is real both in terms of concrete and abstract. It is also real both mental and material.  “Dhãtu” is the priori relationship that links all human beings to each other. If and only if the man understood the phenomenon of “Dhãtus” both external and internal, it shall cause the rising of a view to the world and life that “all things must be inter dependent on each other”(Paticcasamuppãda).In Theravada Buddhism, “Dhãtu” has got some consistent meanings with the scientific concepts.  On the Last, the Dhau’s values, could be seen in 2 levels: the intrinsic value and the extrinsic value.

 Keywords: Dhãtu, Meanings, Theravãda Buddhism


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.