ศาสนาพุทธในโลกสมัยใหม่ : สตรีกับศาสนา

Phramaha Chiravat Kantawanฺnฺo

Abstract


บทคัดย่อ

      การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง “สถานภาพของสตรีในพระพุทธศาสนา” นั้น และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเอาสิทธิของสตรีตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล เพื่อต้องการศึกษาความเสมอภาคของสตรีในพระพุทธศาสนา ความจริงแล้ว บุรุษและสตรีต่างกันแต่เพียงเพศเท่านั้น แต่ปัญญาและศักยภาพด้านรู้แจ้งธรรมไม่ต่างกันเลย ดังจะเห็นได้ว่า ในครั้งพุทธกาล ขณะที่บุรุษจำนวนมากออกบวชและบรรลุธรรม สตรีจำนวนมากก็ออกบวชและบรรลุธรรมได้เช่นกัน

      อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่ ที่มีต่อฐานะของผู้สตรีนั้นเห็นได้ชัด โดยการเปรียบเทียบฐานะของสตรีในสมัยก่อนพุทธกาลกับสังคมของชาวพุทธ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้รวบรวมความแตกต่างในท่าทีที่มีต่อสตรีตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ในตอนแรกได้กล่าวถึงฐานะของสตรีในสมัยก่อนพุทธกาล การอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ตอนสำคัญของสตรีอินเดียและทั่วโลก เพราะพระพุทธเจ้านับว่าเป็นพระศาสดาพระองค์แรกที่มองเห็นสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคกัน พระพุทธเจ้าทรงยอมรับว่า สตรีก็มีศักยภาพและสติปัญญาเท่าเทียมกับบุรุษในการตรัสรู้ธรรม อาจจะกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีคนแรกของโลก

      พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสิทธิ หน้าที่ บทบาทและความเสมอภาคของสตรีไว้อย่างไร รวมทั้งมีคำสอนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสตรีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม หากศึกษาสำรวจคัมภีร์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว อาจกล่าวได้ว่า โดยการเปรียบเทียบกับข้อความที่สรรเสริญหรือพูดถึงสตรีในแง่บวกมีมากกว่า พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการให้ อิสรภาพทางจิตแก่สตรี และชัดเจนขึ้นเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับบทบาทของสตรีในสังคมของศาสนาพราหมณ์ ผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาจากสภาพสังคมในปัจจุบันมักจะกล่าวโจมตีว่า พระพุทธศาสนากดขี่สตรี ไม่ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุรุษ เช่นการที่ไม่ยอมให้สตรีบวชตั้งแต่ต้น จริง ๆ แล้วสตรีภายใต้พระพุทธศาสนามีอิสระและพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาได้ทุกอย่าง พระพุทธศาสนาไม่มีข้อยกเว้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงประกาศพระธรรมแก่ประชาชนทั้งบุรุษและสตรี เพราะตระหนักดีว่าความแตกต่างระหว่างสตรีและบุรุษโดยแท้จริงแล้วไม่มีความหมายหรือความสำคัญอะไรเลย เพราะต้องมีความทุกข์ความเดือดร้อนเหมือน ๆ กัน สตรีเพศจึงจัดอยู่ในสถานภาพที่ควรยกย่องเพราะฐานะที่สำคัญของสตรีก็คือ ความเป็นแม่ของลูก

 คำสำคัญ : ศาสนาพุทธ, สตรี, ศาสนา

 

ABSTRACT

      Studying about the subject. The "status of women in Buddhism" is primarily aimed at bringing women's rights back to the pre-modern era and the modern era. To study the equality of women in Buddhism, the truth is that men and women differ only in gender. But intelligence and potential for enlightenment do not differ. It can be seen that. In the epoch While many men ordained and attained dharma Many women are ordained and attain dharma as well.

      The influence of Buddhism on the modern world status of women is evident by comparing the status of women in pre-Buddhist times and the Buddhist society. Thus, the researcher gathered the difference in attitude toward women as it appears in the Buddhist scriptures and Brahmanism. At first, the status of women in the early epoch Permitting women to ordain women in Buddhism. It is a major history of Indian women and the world. Because the Buddha is the first Prophet to see human rights and equality. Buddha accepted that. Women have the same potential and intelligence as men in the Enlightenment. It could be said that the Buddha was the world's first woman rights activist.

How does Buddhism relate to women's rights, roles, and equality? Including direct and indirect directives on the protection of women. If you study the scriptures all the time. It can be said. By comparing the praise or positive statements about women. Buddhism plays an important role in giving. Freedom of mind for women and clearer when compared with the role of women in the society of Brahmanism. Those who study Buddhism from the present state of society often attacked. Buddhism oppresses women. Not equality with men Such as not allowing women to ordain from the beginning, indeed, women under Buddhism are free and ready to participate in all religious activities. Buddhism is no exception. The Lord Buddha preached the teachings to the people, both men and women. Because it recognizes that the difference between women and men does not really matter or matter at all. Because of the suffering as well as sex, women are in a status to be praised because of the importance of women is. Motherhood.

Key words: Buddhism, Woman, Religion

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com