การเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุ ในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย The Enhancing the Health According to Buddhist Principles Training 4 of The Elderly in Yang Hom Subdistrict Khun Tan District Chiang Rai Province
Abstract
การศึกษาวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างกระบวนการการเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุ ในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวกระบวนการการเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุ ในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) 23 รูป/คน จากบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและการจัดการด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุ ในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย มีการจัดการสุขภาวะมี 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การจัดการสุขภาวะทางกาย มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางกาย และออกกำลังกายแก่ผู้สูงอายุ 2) การจัดการสุขภาวะทางจิต โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ และสร้างกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ 3) การจัดการสุขภาวะทางสังคม โดยการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่นในสังคม และ 4) การจัดการสุขภาวะทางจิตวิญญาณ โดยการ จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก และให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ การจัดการทั้ง 4 ด้านนี้ กระทำโดย รัฐ ชุมชน และครอบครัวของผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ
2) การสร้างกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุ ในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ได้แก่ 1) กายภาวนา ฝึกพัฒนาให้ผู้สูงอายุคำนึงและทำให้ตนเองมีร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพที่ดี 2) สีลภาวนา ฝึกให้ผู้สูงอายุสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับสังคม 3) จิตภาวนา พัฒนาจิตใจผู้สูงอายุ 2 ระดับ คือ เสริมสร้างกำลังใจการสร้างทัศนคติด้านบวกให้แก่ผู้สูงอายุ และสร้างคุณธรรมให้กับจิตใจ และ 4) ฝึกพัฒนาให้ผู้สูงอายุสามารถเกิดการเรียนรู้ทั้งทางโลก และทางธรรมควบคู่กันไป
สรุป กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ออกมาเป็นรูปแบบของกระบวนเสริมสร้างสุขภาวะ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การส่งเสริม คือการใช้หลักกายภาวนามาเสริมสร้างสุขภาวะทางกาย มีเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุจะต้องมีร่างกายที่ดี 2) การเสริมสร้าง โดยใช้หลักศีลภาวนามาเสริมสร้างสุขภาวะทางสังคม มีเป้าหมายคือผู้สูงอายุจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี คือ การมีพฤติกรรมในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมที่ดี 3) การป้องกัน โดยใช้หลักจิตภาวนามาเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต เพื่อให้เกิดแนวทางป้องกัน มีเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุจะต้องมีความคิดที่ดี โดยผ่านการฝึกจิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา ให้จิตมีคุณธรรมพื้นฐาน ในการอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม และ 4) การเตรียมความพร้อม โดยใช้หลักปัญญาภาวนามาเสริมเสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณ มีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุเข้าใจชีวิต ผ่านกระบวนการคิดพิจารณาอย่างถูกต้อง
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โทรสาร +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ +66(0) 8 1268 1128
http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com